WHAT'S NEW?
Loading...

ช่วยกันแชร์ รู้ก่อนสาย!! อาการเท้าบวม สัญญาณเตือนโรคร้าย 7 ชนิด

Advertisements

Advertisements
รู้ก่อนสาย!! อาการเท้าบวม สัญญาณเตือนโรคร้าย 7 ชนิด 

อาการเท้าบวม เกิดจากสาเหตุหลายประการ แพทย์จำเป็นต้องให้การวินิจฉัยสาเหตุของอาการบวมที่เท้าให้ถูกต้องเสียก่อน จากนั้นจึงดำเนินการรักษาต่อไปตามแต่สาเหตุ

หลักการวินิจฉัยขึ้นกับประวัติอาการเจ็บป่วยโดยละเอียด โรคประจำตัวของผู้ป่วย การตรวจร่างกายรวมทั้งอวัยวะที่เกี่ยวข้อง บางครั้งแพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจพิเศษเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคเมื่อมีข้อบ่งชี้บางประการ

       • สาเหตุ
     
       1. โรคไต อาการบวมรอบตา บวมหน้า บวมเท้า สังเกตได้เวลาตื่นนอนหรือช่วงบ่ายๆ หรือมีกิจกรรมในท่ายืนนานๆ สังเกตได้ว่าแหวนหรือรองเท้าที่เคยใส่จะคับขึ้น เมื่อใช้นิ้วกดที่มือ และเท้าจะมีรอยกดบุ๋ม
     
       2. โรคหัวใจ อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือโซเดียม และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย อาจเกิดจากโรคหัวใจบางชนิด อาการบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบเพื่อหาสาเหตุ แล้วจึงให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
     
       3. โรคตับ อาการบวมที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคตับ มักเกิดขึ้นในระยะท้ายของโรค ร่วมกับอาการบวมน้ำที่ท้อง หรือที่เรียกว่าท้องมาน สาเหตุสำคัญเกิดจากภาวะโปรตีนต่ำในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนชนิดอัลบูมิน ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการดึงน้ำกลับเข้าสู่หลอดเลือด โรคตับในระยะท้ายทุกชนิดทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ และพบได้บ่อยที่สุดในโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ
     
       4. โรคหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน มักเกิดกับผู้ประกอบ อาชีพที่ต้องพึ่งขาทั้งสองข้างเป็นหลัก เช่น ครู พยาบาล จราจร แม่ครัว ช่างเสริมสวย พนักงานขาย เป็นต้น อาชีพเหล่านี้ล้วนแต่ต้องใช้ขาทั้งสองข้างยืนอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ อย่างน้อยวันละ 4-6 ชั่วโมง การยืนอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการขาบวม เท้าบวม และปวดขา ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อขาเมื่อยล้า ถ้าได้นั่งพักหรือนวดเบาๆ บริเวณที่ปวดเมื่อย อาการอาจทุเลา หรือสลายไปได้
     
       แต่ถ้าอาการปวดขาที่เกิดจากการผิดปกติในการทำงานของหลอดเลือดดำ ทำให้การไหลเวียนของเลือดกลับสู่หัวใจไม่สะดวก เกิดการคั่งค้างของเลือด ก็จะเกิดอาการอื่นๆ ร่วมกับอาการปวดขา เช่น อาจรู้สึกขาหนักถ่วงๆ เมื่อยล้า บวม ชา หรือร้อนวูบวาบในบางครั้ง มักเป็นตะคริวในเวลาเย็นหรือกลางคืน โดยที่อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นประจำ จนกระทั่งรบกวนความรู้สึก และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
     
       อาการดังกล่าวถือเป็นอาการเริ่มต้น หรือสัญญาณเตือนของการเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดดำที่ขา ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ การเสื่อมสภาพของหลอดเลือดดำอาจมากขึ้นจนเห็นได้ชัด เช่น เส้นเลือดขอดอักเสบ แผลเรื้อรัง อาจเกิดลิ่มเลือดอุดตัน เป็นต้น
     
       5. โรคเท้าช้าง คนที่มีอาการมักจะเกิดจากการที่ถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายครั้ง อาการในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อม และท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อเยื่อภายใน รวมทั้งมีการปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆหายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวร และผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมีลักษณะขรุขระ ต่อมาต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาจะบวมแดง และเมื่อเป็นนานๆ ทำให้ผิวหนังบริเวณนี้หนา และขรุขระ ขาจะเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ
     
       อาการขาโตเกิดจากการที่มีพยาธิโรคเท้าช้างตัวแก่ที่ตายแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ได้เข้าไปอุดตันท่อน้ำเหลือง ทำให้เกิดการระคายเคืองในท่อน้ำเหลือง รวมทั้งปล่อยสารพิษที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ
     
       6. โรคติดเชื้อ
     
       7. โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าต์ เอ็นอักเสบ พังผืดอักเสบ
     
       • การรักษาและข้อควรปฏิบัติ
     
       1. หลักสำคัญการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ
     
       2. ออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมงทุกวัน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และป้องกันไม่ให้น้ำไหลลงไปคั่งที่ขา การออกกำลังกายที่ช่วยให้กล้ามเนื้อและหลอดเลือดแข็งแรง ได้แก่ ว่ายน้ำ วิ่ง ขี่จักรยาน แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่รุนแรงเกินไป เช่น กระโดดสูง กระแทกเท้า
     
       3. กินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี และฟลาโวนอยด์ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของผนังหลอดเลือดฝอย
     
       4. ลดการกินอาหารที่มีรสเค็ม และไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป
     
       5. ถ้าต้องยืนหรือนั่งนานๆ ควรขยับกล้ามเนื้อบริเวณ น่องบ่อยๆ เพื่อดันให้เลือดไหลกลับขึ้นมาด้านบน และลดอาการข้อเท้าบวม
     
       6. ไม่ควรยืนนิ่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ ถ้าจำเป็นควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
     
       7. หลีกเลี่ยงไม่ให้ขาสัมผัสกับความร้อน เช่น อาบน้ำที่ร้อนเกินไป ยืนบนพื้นร้อนๆ อาบแดดนานๆ
     
       8. สวมรองเท้าสูงไม่เกิน 5 ซม.
     
       9. ในกรณีที่ต้องยืนนานๆ ควรสวมถุงน่องที่ช่วยพยุง และกระชับกล้ามเนื้อขา ซึ่งมีแรงบีบรีดไม่น้อยกว่า 30 มิลลิเมตรปรอท และควรสวมตั้งแต่เท้าจนถึงเหนือเข่า
     
       10. ยกเท้าสูงประมาณ 45 องศาขณะนอนพัก จนกระทั่งรู้สึกสบายขึ้น จึงนอนต่อในท่าปกติ
     
       • ข้อมูลเพิ่มเติมสำคัญ ที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค
     
       1. เท้าที่บวมมีอาการปวด แดง หรือร้อน ร่วมด้วยหรือไม่ หรือลองกดดูว่าเจ็บหรือไม่
     
       2. เท้าบวมทั้งสองข้าง หรือข้างเดียว
     
       3. บวมเฉพาะที่หลังเท้า หรือบวมเลยขึ้นมาถึงหน้าแข้ง
     
       4. บวมเวลาใดมากเป็นพิเศษ เช่น ตอนเช้าตื่นนอนไม่ค่อยบวม ตกเย็นจะบวมมาก หรือว่าบวมเท่าๆ กันทั้งวัน

     
อ้างอิง...หนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 120 พฤศจิกายน 2553 โดย นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น