WHAT'S NEW?
Loading...

มะเร็งลำไส้ใหญ่ถ้ารู้ก่อนเบื่องต้นแล้ว ยังไงก็รักษาได้!

Advertisements

Advertisements

มะเร็งลำไส้ใหญ่ถ้ารู้ก่อนเบื่องต้นแล้ว ยังไงก็รักษาได้!

มะเร็ง คืออะไร

ทั่วร่างกายของคนเรามีเซลล์อยู่ประมาณ 3 ล้านล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์พวกนี้จะแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสี่ และจากสี่เป็นสิบหกไปเรื่อย ๆ การแบ่งตัวนั้นจะเป็นไปตลอดเวลา ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะมีกลไกในร่างกายเป็นตัวควบคุมเพื่อให้การแบ่งตัวเป็นไปอย่างเรียบร้อยและเหมาะสม

เซลล์ใหม่งอกเงยเพื่อที่จะทดแทนเซลล์แก่ที่ตายและหลุดลอกออกไปจากร่างกาย ร่างกายจะควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์เพื่อที่จะได้ผลิตจำนวนเซลล์ที่เหมาะสมและมีคุณภาพ เซลล์ของลำไส้ใหญ่ก็จะมีการแบ่งตัวและผลิตเซลล์ใหม่ออกมา ซึ่งจะเหมือนกับเซลล์ตัวแม่และมีคุณภาพเซลล์เหมือนกัน เปรียบเสมือนเบ้าหลอมที่จะหลอมหรือหล่อเซลล์ออกมาตัวแล้วตัวเล่าที่เหมือนๆกัน แต่ด้วยเหตุผลใดไม่ปรากฏ อาจมีเซลล์หรือกลุ่มเซลล์บางตัวเกิดเพี้ยนขึ้นมา และปฏิบัติตัวนอกรีดนอกรอย ซึ่งก็จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเป็นเซลล์พันธุ์ใหม่ (เซลล์มะเร็ง) ที่ไม่เหมือนกับเซลล์ตัวแม่และจะแบ่งตัวจาก 1-3-4-16อย่างรวดเร็ว แต่ไม่ได้อยู่ในความควบคุมของร่างกาย ดังนั้น เซลล์พันธุ์ใหม่นี้ก็จะเพิ่มจำนวนหรือขยายตัวอย่างรวดเร็ว การขยาย 2 เท่าตัว หรือ DOUBLE TIME อาจจะใช้เวลาแตกต่างกันไประหว่างเซลล์มะเร็งแต่ละชนิด ซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้

เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้นก็จะกัดกร่อนเข้าไปในผนังลำไส้ จนกระทั่งทะลุผนังของลำไส้ออกมาบริเวณรอบ ๆกระจายไปตามต่อมน้ำเหลืองหรือเส้นเลือดและไหลเวียนไปยังส่วนต่าง ๆของร่างกาย เช่น ตับ ปอด สมอง ฯลฯ เมื่อกระจายไปส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเซลล์ก็จะทำการขยายตัวแบบเดียวกับตัวแม่ เพราะฉะนั้น มันก็จะขยายตัวยึดพื้นที่ไปเรื่อย ๆตามส่วนต่าง ๆของร่างกาย จนกระทั่งผลสุดท้ายก็จะทำลายคนไข้จนไม่เหลืออะไรและเสียชีวิตไปในที่สุด

อาการแสดงของมะเร็งสำไส้ใหญ่

อาการแสดงของมะเร็งสำไส้ใหญ่ ที่เขียนตามตำราต่าง ๆมักจะเป็นอาการเมื่อคนไข้เป็นมากแล้ว ซึ่งข้าพเจ้าคงจะไม่นำมาเขียนในที่นี้ เนื่องจากจะมีอยู่ในตำราทุกเล่ม ถ้าหากเราคิดว่าการรักษาจะให้ได้ผลดีนั้นคงจะต้องทำเมื่อมีอาการเริ่มแรกจริง ๆ เพราะถ้าพบโรค เมื่อมะเร็งเพิ่งจะก่อตัว อัตราการหายขาดจากโรคนี้ก็จะมีมากขึ้น การที่จะพบมะเร็งลำไส้ในระยะเริ่มแรกนั้น ทั้งหมอและคนไข้คงจะต้องจำคำสอนดั้งเดิมที่มีมานานแล้วว่า “ใครก็ตามแต่ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ถ้ามีอาการผิดปกติของระบบการขับถ่ายขอให้วินิจฉัยเบื้องต้นว่า มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่”

การเปลี่ยนแปลงของระบบการขับถ่ายแปลว่าอะไร

1. ท้องผูก

ถ้าคนไข้สังเกตว่ามีอาการท้องผูกมากขึ้นผิดปกติ เช่น ไม่เคยใช้ยาถ่ายมาก่อนเลย ก็ต้องใช้ยาถ่ายและใช้เป็นจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจจะต้องเบ่งอุจจาระมากขึ้นจนกว่าจะถ่ายอุจจาระได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก้อนอุจจาระลีบลงและก้อนเรียวลง เหมือนเส้นสปาเก็ตตี้

2. ท้องเสีย

ถ้าอยู่ ๆ มีอาการท้องเดินวันละ 2-3 ครั้ง (ซึ่งเคยถ่ายวันละครั้งเป็นประจำ) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีอาการท้องผูกสลับกับท้องเดิน

3. ถ่ายเป็นมูก

การถ่ายเป็นมูก เป็นๆหายๆเป็นอาการสำคัญที่น่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

4. ถ่ายเป็นเลือดสด

การถ่ายเป็นเลือดสดๆ พร้อมอุจจาระ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมาจากริดสีดวงทวาร ซึ่งข้าพเจ้าขอย้ำว่า ริดสีดวงทวารจะไม่เปลี่ยนเป็นมะเร็ง แต่บางครั้งคนไข้อาจจะเป็นริดสีดวงทวารร่วมกับเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งถ้าหลงรักษาเฉพาะริดสีดวงทวารแล้วไม่รักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นเวลานาน ก็จะทำให้มะเร็งแพร่ขยายไปได้ ดังนั้น การที่จะเหมาว่าบุคคลนั้นเป็นแค่ริดสีดวงทวารโดยไม่ตรวจให้ถี่ถ้วน คงจะเป็นการสะเพร่าอย่างไม่น่าให้อภัย ทุกคนที่ถ่ายเป็นเลือดและมีอายุครบ 40 ปีขึ้นไป ถึงแม้จะมีริดสีดวงทวารอยู่แล้ว อย่างน้อยควรจะได้รับการส่องกล้องยาว(SIGMOIDOSCOPE) ขึ้นไปดูลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะดูได้ลึกประมาณ 25 ซม. ในระดับนี้ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติก็พอจะอนุมานได้ว่า ไม่มีปัญหาอย่างอื่น(เพราะว่า 2/3 ของมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะอยู่ในระดับ 25 ซม. จากปากทวาร) ถ้าคนไข้ไม่มีอาการบ่งชี้อื่น ๆ การตรวจเพียงแค่นี้ก็น่าจะเป็นการเพียงพอ ริดสีดวงทวารไม่ต้องรักษาก็ได้ แต่มะเร็งลำไส้ใหญ่จำเป็นต้องรักษา

5. การถ่ายไม่สุด

ถ้ามีอาการเข้าห้องน้ำไปถ่ายอุจจาระ พอออกมารู้สึกว่าถ่ายไม่สุดอยากจะเข้าไปถ่ายอีก อาการอย่างนี้น่าจะนึกถึงมะเร็งแถวบริเวณส่วนปลายลำไส้ใหญ่ใกล้ปากทวาร(RECTUM)

6. ท้องอืด/ท้องเฟ้อ

อาการท้องอืด แน่น รับประทานอาการแล้วไม่ย่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ขับถ่ายผิดปกติ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ดีขึ้นเมื่อผายลม อาการอย่างนี้ถือเป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งแพทย์ควรจะต้องเอาใจใส่ให้ความสำคัญและตรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน

เครดิต: www.108health.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น