เตือน!! 5 โรคอันตราย ที่แฝงมากับการนอนกรน คร๊อก ๆ ๆ
คร๊อก ๆ ๆ เสียงอะไรเนี่ย อ้อ !! เสียงกรนนั่นเอง หากเสียงกรนแบบนี้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนใกล้ชิดแล้วอย่านิ่งนอนใจไปนะคะ
อาการของคนนอนกรนนอกจากจะตื่นขึ้นมาแล้วจะมีอาการเจ็บคอ คอแห้งแล้ว หากเกิดเป็นประจำมีการวิจัยว่ามีผลทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอันตรายหลายหลายโรคเลย อะไรกันบ้าง ติดตามกันค่ะ
5 โรคอันตราย
โรคหัวใจ
จากผลการวิจัยของนักวิจัยจากประเทศฮังการี มีการศึกษาพบว่าผู้ที่นอนกรนเสียงดัง และหยุดหายใจเป็นพัก ๆ นั้นมีโอกาสเสี่ยงจะทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจขึ้นถึง 34 % และมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเส้นเลือดในสมองแตก 67 % ผลของการนอนกรนทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียดสะสมจนส่งผลถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
ภาวะหัวใจเสียจังหวะ
มีงานวิจัยจาก Hospitals Philadelphia ได้ศึกษาพบว่า ภาวะการหยุดหายใจพัก ๆ ขณะนอนหลับของผู้ที่มีอาการนอนกรนจะเพิ่มโอกาสการเป็นภาวะหัวใจเสียจังหวะ ยิ่งหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้ทำการรักษาจะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงอีกเท่าตัว
กรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อนเกิดจากภาวะน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ทำให้มีอาการปวดแสบร้อนหน้าอก มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการกรนระหว่างนอนหลับที่ส่งผลให้ภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้น อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนจากความดันที่ไม่สม่ำเสมอทำให้หลอดอาหารทำงานไม่เป็นปกติเช่นเดิม
ความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง
จากอาการกรนเสียงดังบ่อย ๆ หากทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน ผลของการอุดกั้นทางเดินของหัวใจจะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยกว่าปกติ ระดับออกซิเจนลดต่ำลงจนทำให้ระบบเลือดที่ไหลเวียนไปยังปอดไม่ได้รับความสะดวก เกิดภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย และอ่อนเพลียจากอาการที่แทรกซ้อนดังกล่าว
โรคระบบประสาทและสมอง
โดยปกติแล้วสมองต้องการออกซิเจนในการส่งต่อไปยังสมอง เพื่อเสริมสร้างระบบการทำงานในสมองให้เป็นปกติ ดังนั้นอาการกรนที่ปิดกั้นระบบการหายใจเป็นพัก ๆ จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งหากร่างกายขาดออกซิเจนส่งไปยังสมองจะมีผลทำให้ระบบประสาทและสมองทำงานไม่เป็นปกติ เสี่ยงต่อการเป็นโรคทางระบบประสาทและสมอง
บางคนอาจคิดว่าอาการกรนมีผลที่ส่งผลเสียเฉพาะบุคลิกภาพเท่านั้น ความจริงยังมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมด้วยนะคะ ดังนั้นหากใครมีอาการกรนระหว่างนอนหลับหรือมีคนใกล้ชิดมีอาการกรน ทางที่ดีควรหาวิธีการแก้นอนกรนนี้ให้หาย ด้วยการพบแพทย์และนำวิธีที่ได้รับการแนะนำไปปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอันตรายอื่น ๆ ที่อาจเกิดแทรกซ้อนได้ค่ะ
ที่มา...smartsme.tv
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น