WHAT'S NEW?
Loading...

อ้อยแดง สุดยอดสมุนไพรมากสรรพคุณ แก้โรคนิ่ว บำรุงหัวใจ แก้ปัสสาวะพิการ

Advertisements

Advertisements

อ้อยแดง สุดยอดสมุนไพรมากสรรพคุณ แก้โรคนิ่ว บำรุงหัวใจ แก้ปัสสาวะพิการ

อ้อยแดง หรือ SUGARCANE, SACCHARUM OFFICINARUM LINN. อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE เป็นอ้อยที่นิยมปลูกกันตามหัวไร่ปลายนามาแต่โบราณแล้ว เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาเท่านั้น เนื่องจากเปลือกต้นของ "อ้อยแดง" มีรสขม และน้ำที่ได้ก็ไม่หวานแหลมนัก หากปลูกเพื่อปอกเปลือกแล้วควั่นเป็นข้อขายไม่มีคนซื้อรับประทานอย่างแน่นอน ในปัจจุบันอ้อยแดงค่อนข้างหายาก แต่ด่วยสรรพคุณทางยามากมาย ทำให้หลายคนอยากหามาปลูก ก่อนจะไปดูสรรพคุณอันยาวเป็นหางว่าวของอ้อยแดง ตาม ลูกหมี ไปทำความรู้จักกับอ้อยแดงกันก่อนนะคะ

ลักษณะของอ้อยแดง
• ต้น เป็นไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร มักขึ้นเป็นกอ ลำต้นกลม สีม่วงแดง ลำต้นแข็งแรงมีข้อปล้องชัดเจน มีตาติดอยู่ตามข้อ มีไขสีขาวปกคลุม เปลือกมีรสขม น้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา
• ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปใบยาวเรียว ปลายแหลม เรียงสลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 0.5-1 เมตร ขอบใบจิกละเอียดและคม ใบร่วงง่าย จึงพบเฉพาะตามปลายยอดโดยมีกาบใบโอบหุ้มข้ออยู่
• ดอก ออกเป็นช่อใหญ่สีขาวตรงปลายยอด ขนาดประมาณ 40-80 ซม. สีขาว ประกอบด้วยดอกย่อยมีขนาดเล็กจำนวนมาก ลำต้นจะออกดอกได้เมื่อต้นแก่เต็มที่
• ผล เป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก

สรรพคุณ
1.ทั้งต้น - แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา แก้ช้ำรั่ว แก้โรคนิ่ว แก้ไอ
2.ต้น - แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะเหนียว ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ ในอก บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลือง แก้ช้ำใน รักษาโรคไซนัส
3.น้ำอ้อย - รักษาโรคนิ่ว บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ แก้เสมหะ แก้หืด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไอ ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร

ตำรับยา
1. อาการไอขณะออกหัด : ทั้งต้น (ทั้งเปลือก ให้ตัดส่วนข้อทิ้ง) และหัวแห้ว จำนวนพอสมควร ต้มดื่มต่างนํ้าชา
2. ทางเดินปัสสาวะอักเสบ : นํ้าอ้อยคั้น นํ้าเง่าบัวคั้น อย่างละ 30 มิลลิกรัม ผสมกัน กินวันละ 2 ครั้ง
3. สตรีมีครรภ์อาเจียน : นํ้าอ้อยคั้น 1 แก้ว ใส่นํ้าขิง 1 ช้อนชา ดื่มวันละ 2-3 ครั้ง
4. คอแห้งกระหายนํ้า : ให้ดื่มนํ้าอ้อยบ่อยๆ หรือจะใส่นํ้าขิงลงไป เล็กน้อยก็ได้
5. กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง : นํ้าอ้อยคั้น 1 แก้ว ใส่นํ้าขิงลงไปเล็กน้อยวันละ 2-3 แก้ว
6. ท้องผูก : นํ้าอ้อยและนํ้าผึ้งปริมาณเท่ากัน ดื่มก่อนนอน
7. ทอลซิลอักเสบชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง : ใช้อ้อย หัวแห้ว รากหญ้าคาจำนวนพอประมาณ ต้มดื่มต่างนํ้าชา

หมายเหตุ ** สมุนไพรใกล้ตัว บทความมุ่งเน้นนำเสนอสรรพคุณทางยา ก่อนนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น