WHAT'S NEW?
Loading...

เตือนไว้เลย! กินปุ๊บ นอนปั๊บ เสี่ยงโรคกรดไหลย้อน ปล่อยไว้นานรับโชคร้ายชั้นที่ 2 มะเร็งหลอดอาหาร

Advertisements

Advertisements

เตือนไว้เลย! กินปุ๊บ นอนปั๊บ เสี่ยงโรคกรดไหลย้อน ปล่อยไว้นานรับโชคร้ายชั้นที่ 2 มะเร็งหลอดอาหาร

เมื่อหนังท้องตึง หนังตาก็เริ่มหย่อน จึงเป็นธรรมดามากๆที่คนส่วนใหญ่จะขอเอนหลังหลับสักงีบหลังจากที่ได้รับประทานอาหารมื้อใหญ่ไปเต็มท้อง แต่คุณรู้หรือไม่ว่า สิ่งที่คุณคิดว่าทำแล้วสบาย อาจส่งผลเสียต่อคุณในอนาคตได้ ผลเสียที่ว่านี้คืออะไร ต้องมาศึกษาไปพร้อมกันตอนนี้เลยค่ะ

เป็นเรื่องจริงที่สถิติผู้ป่วยคนไทยที่มีอาการของ “โรคกรดไหลย้อน” มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  และไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่พบเจอปัญหานี้ แต่โรคกรดไหลย้อนยังเป็นปัญหาของประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่าง ยุโรป อเมริกา หรือสิงคโปร์ ที่พบว่าปริมาณผู้ป่วยที่เกิดโรคกรดไหลย้อนมีตัวเลขสูงขึ้น โดยกลุ่มประเทศตะวันตกมีมากถึง 11.8-28.5%  ส่วนเอเซียอยู่ที่ 3.3-16%

โรคกรดไหลย้อน คืออะไร

โรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งไม่ใช่บริเวณที่สามารถทนต่อกรดหรือน้ำดีได้นานๆ ทำให้ผู้ป่วยมีการอักเสบของหลอดอาหาร และเจ็บปวดทรมานเป็นอย่างมาก เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ 5-10 ปี ก็มักจะพบภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดอาหารอักเสบเรื้อรัง มีพังผืด กลืนอาหารลำบาก และเพิ่มโอกาสเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น

อาการใดบ้างที่บ่งบอกว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

อาการที่พบ เช่น

– เรอบ่อย และเรอเปรี้ยว

– รู้สึกมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือในปาก 

– อาการปวดแสบร้อนบริเวณกลางอก

– กลืนอาหารติดขัด  รู้สึกเหมือนมีก้อนอยู่ในคอ

– กระแอมไอเรื้อรัง 

– เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง

– เสียงแหบเรื้อรัง หรือเสียงเปลี่ยน

– ไซนัสอักเสบ หรือหูน้ำหนวก

– อาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก ที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ โรคหอบหืด

บุคคลกลุ่มไหน เสี่ยงต่อโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อนเป็นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่เกิดมากที่สุดใน “คนอ้วน” เนื่องจาก แรงดันที่ผนังหน้าท้องจะไปกดที่กระเพาะอาหาร ทำให้แรงดันในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น และดันให้กรดขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ง่ายขึ้น

ป้องกันโรคกรดไหลย้อน ได้อย่างไร

หากไม่ต้องการจะเป็นโรคกรดไหลย้อน จะต้องพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตบางอย่าง โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหารและพฤติกรรมหลังอาหาร ดังต่อไปนี้

1. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้หูรูดกระเพาะอาหารหลวม เช่น อาหารทอด อาหารไขมันมาก อาหารเผ็ด ช็อกโกแลต หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงอย่างชาหรือกาแฟ เป็นต้น

2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเป็นกรดหรือจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น ผลไม้ประเภทส้มหรือมะนาว มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ น้ำอัดลม เครื่องเทศ พริกไทย เป็นต้น

3. ห้ามนอนทันทีหลังรับประทานอาหารอิ่ม ควรทิ้งระยะห่างก่อนนอนประมาณ 3 ชั่วโมง หรือพยายามเลื่อนการรับประทานมื้อเย็นให้เร็วขึ้น

4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างตอนนอนหลับ เช่น การนอนหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้น 6-8นิ้ว  การนอนตะแคงซ้าย  เป็นต้น

5. หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าหรือเข็มขัดที่คับแน่นจนเกินไป

6. ลดน้ำหนักตัว

อย่านิ่งนอนใจกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบผิดๆที่อาจจะส่งผลต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อน การเรียนรู้และทำการป้องกันเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างมากก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป…จำไว้เลยว่า…อาการของโรคกรดไหลย้อนเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ ถ้าคุณทำได้ก่อน โอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็คงไม่เกิดขึ้นกับคุณอย่างแน่นอน


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339240175

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น