WHAT'S NEW?
Loading...

วิธีไหว้เจ้าที่ การไหว้เจ้าที่ทำอย่างไร ใช้ธูปกี่ดอก มาดูกัน

Advertisements

Advertisements

วิธีไหว้เจ้าที่ การไหว้เจ้าที่ทำอย่างไร ใช้ธูปกี่ดอก มาดูกัน

การไหว้เจ้าที่ อยากรู้ว่า ไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก ของไหว้เจ้าที่มีอะไรบ้าง ไหว้เจ้าที่ควรไหว้เวลาไหน มาดูวิธีไหว้เจ้าที่ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้กันค่ะ 

หลาย ๆ คนอาจยังสงสัยเรื่องไหว้เจ้าที่ การไหว้เจ้าที่ควรทำเวลาไหน ไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก ของไหว้เจ้าที่มีอะไรบ้าง และถ้าไม่มีศาลพระภูมิ มีวิธีไหว้เจ้าที่กลางแจ้งอย่างไร วันนี้กระปุกดอทคอมขอรวบรวมวิธีไหว้เจ้าที่และวิธีการตั้งศาลเจ้า พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งศาลพระภูมิมาฝากกันด้วยค่ะ

ศาลเจ้าที่และศาลพระภูมิ

        หลายคนอาจเคยเข้าใจผิดว่า ศาลเจ้าที่และศาลพระภูมิเป็นศาลเดียวกันมาตลอด แต่จริง ๆ แล้วศาลทั้ง 2 ประเภทมีความแตกต่างกัน ดังนี้ 

        1. ศาลเจ้าที่ คือ การสร้างสถานที่และอัญเชิญวิญญาณเจ้าที่เจ้าทาง ซึ่งเคยเป็นเจ้าของที่ดั้งเดิมที่มีความผูกพันกับพื้นที่นั้น ให้มาช่วยดูแลและปกปักรักษาบ้านเรือน เจ้าที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

        - เจ้าที่แท้ : เจ้าของที่เดิมที่ไม่ยอมไปเกิดใหม่ ซึ่งจะคอยปกปักรักษาที่ของตนเองอยู่อย่างนั้น 

        - เจ้าที่จร : คือวิญญาณเร่ร่อนที่อยู่โดยรอบบริเวณพื้นที่นั้น ๆ ดังนั้นก่อนการตั้งศาลเจ้าที่จึงจำเป็นต้องมีอาจารย์ตั้งศาลมาตรวจดูว่า มีวิญญาณเจ้าที่อยู่ในบริเวณนั้นหรือไม่ มิเช่นนั้นศาลเจ้าที่ตั้งไว้จะกลายเป็นศาลว่างเปล่า ไม่มีวิญญาณคอยดูแล 

        ลักษณะของศาลเจ้าที่มักจะเป็นเรือนที่มีฐานใหญ่กว่าศาลพระภูมิ อยู่ในระดับความสูงเพียงครึ่งหนึ่งของศาลพระภูมิ ภายในจะมีรูปปั้นตา-ยาย หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า ศาลตา-ยาย นั่นเอง 

        2. ศาลพระภูมิ คือ สถานที่สำหรับพระชัยมงคลหรือเทพที่คอยปกปักรักษาบ้านเรือน ซึ่งเชื่อกันว่าการกราบไหว้บูชาพระชัยมงคลจะทำให้บ้านหลังนั้นอยู่เย็นเป็นสุข คลาดแคล้วจากอันตราย มีความเป็นสิริมงคล และสามารถขอพรให้เรื่องต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดี 

ตำแหน่งการตั้งศาลเจ้าที่และศาลพระภูมิ 

1. ศาลเจ้าที่ 

        ต้องตั้งให้ถูกตำแหน่ง มิเช่นนั้นอาจจะเกิดผลไม่ดีตามมา หรือหากไม่มีพื้นที่ที่เหมาะในการตั้งศาลก็ไม่ควรตั้งก็ได้ ให้แก้ด้วยการไหว้เจ้าที่กลางแจ้ง ส่วนหลักการตั้งศาลเจ้าที่มีข้อกำหนดดังต่อไปนี้

        - พื้นที่นั้นจะต้องสะอาด ไม่มีสิ่งกีดขวางด้านหน้าศาล
        - ไม่ตั้งหลบมุมจนมองไม่เห็น
        - ตั้งให้ตรงกับประตูทางเข้าบ้าน
        - ห้ามหันหน้าหรือตั้งใกล้บริเวณห้องน้ำ
        - ห้ามตั้งไว้ใต้บันได เพราะเป็นพื้นที่สัญจรทำให้ไม่สงบ
        - ต้องไม่ตั้งให้อยู่ใต้คานบ้าน มิเช่นนั้นความศักดิ์ของเจ้าที่จะลดลง

2. ตำแหน่งที่ตั้งศาลพระภูมิ 

        การตั้งศาลพระภูมิควรตั้งระดับฐานชานชาลาให้อยู่ในระดับสายตาหรือเหนือคิ้วของเจ้าของบ้านคนปัจจุบัน การหันหน้าศาลพระภูมิควรหันหน้าเข้าหาทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศอีสานเท่านั้น ก่อนตั้งศาลจะต้องเชิญอาจารย์ตั้งศาลมาดูพื้นที่และทิศทางให้เหมาะสม โดยมีหลักการตั้งศาลพระภูมิดังนี้ 

        - ที่จะตั้งศาลจะต้องสะอาด ไม่รกร้าง
        - ต้องไม่หันหน้าและอยู่ห่างจากห้องน้ำ
        - ต้องตั้งอยู่บนพื้นดินเท่านั้น ห้ามตั้งบนตัวบ้าน
        - ตั้งในที่ที่ไม่โดนเงาบ้านทับ
        - ห้ามหันหน้าศาลให้ตรงกับประตูหน้าบ้าน
        - ศาลต้องอยู่ห่างจากกำแพงบ้านและรั้วบ้านประมาณ 1 เมตร
        - ยกฐานศาลให้สูงประมาณ 1 คืบก็จะดี
        

การไหว้เจ้าที่และศาลพระภูมิ

1. ไหว้เจ้าที่ 

        การไหว้ศาลเจ้าที่จะต้องทำความสะอาดในทุก ๆ เช้า ของไหว้เจ้าที่ ได้แก่ พวงมาลัยดอกไม้สด น้ำเปล่า ผลไม้ และอาหารคาว-หวาน และจุดธูปไหว้เจ้าที่ 5 ดอก พร้อมกับกล่าวคำไหว้เจ้าที่หรือคาถาไหว้เจ้าที่ ถ้าจะให้ดีควรเปลี่ยนของไหว้เจ้าที่ทุกวันด้วย และอย่าลืมทำความบริเวณศาลเจ้าที่ด้วยถึงจะได้ผลดี

- การไหว้เจ้าที่กลางแจ้ง ทำอย่างไร ?

        สำหรับบ้านที่ไม่มีศาลเจ้าที่ แต่เจ้าของบ้านต้องการไหว้เจ้าที่ เพื่อให้เกิดความสบายใจก็สามารถทำได้ค่ะ ด้วยการนำโต๊ะขนาดพอดีมาตั้งไว้หน้าบ้าน โดยหันหน้าเข้าหาบ้าน หรือบางคนอาจจะวางไว้กลางบ้านเลยก็ได้ค่ะ จากนั้นนำกระถางธูปพร้อมของไหว้เจ้าที่มาวางไว้ เพื่อสักการะกราบไหว้ให้ท่านดูแลรักษาพื้นที่แห่งนี้

2. ไหว้ศาลพระภูมิ 

        การสักการะกราบไหว้ศาลพระภูมินั้นจะต้องทำทุกเช้าก่อนออกจากบ้าน ให้เตรียมจุดธูปบูชา 5 ดอก เทียน ดอกไม้สด พวงมาลัยสด ถวายน้ำเปล่า และอาหารคาว-หวาน ซึ่งอาหารคาว-หวานและผลไม้นั้นจะต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนภายในสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือเดือนละ 2 ครั้ง มาสวดมนต์และขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล หลังจากบูชาเสร็จก็ควรทำความสะอาดบริเวณศาลด้วยก็จะยิ่งดี

        หากคิดที่จะตั้งศาลทั้งศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่แล้วนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านก็ต้องประพฤติและปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรม และดูแลสักการะศาลให้ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอกันด้วยนะคะ เพื่อให้เกิดผลดีและความเป็นสิริมงคลกับทุกคนในบ้าน

ข้อมูลจาก http://home.kapook.com/view151087.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น