5 สมุนไพใกล้ตัว ช่วยลดความดันโลหิตสูง คน 35 ปีขึ้นไป ควรอ่าน!!
คนไทยที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 22 โรคความดันโลหิตสูงเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
และโรคความดันโลหิตสูงยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจอีกด้วยสมุนไพรไทยที่มีผลช่วยลดอาการความดันโลหิตสูง ที่น่าสนใจมีดังนี้
1.กระเจี๊ยบแดง
จากการทดลองในสัตว์และมนุษย์พบว่า กระเจี๊ยบแดงสามารถลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ขับยูริก รวมทั้งลดการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะภายหลังการผ่าตัดในไตได้
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าการดื่มชากระเจี๊ยบวันละ 2-3 ครั้ง สามารถลดความดันโลหิตตัวล่างลงได้ตั้งแต่ร้อยละ 7.2 ถึง 13 เลยทีเดียว ดังนั้น ชากระเจี๊ยบจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
2.ขึ้นฉ่าย
′ขึ้นฉ่าย′ชาวเอเชีย นิยมใช้ขึ้นฉ่ายเป็นยาลดความดันโลหิตมากว่า ๒ พันปีแล้ว ชาวจีน ชาวเวียดนามแนะนำให้กินขึ้นฉ่ายวันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ แพทย์อายุรเวทในอินเดียจะสั่งจ่ายเมล็ดขึ้นฉ่ายเพื่อขับปัสสาวะสำหรับผู้ ป่วยที่บวมน้ำ
ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า ขึ้นฉ่ายมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ลดบวม คุมกำเนิด ลดจำนวนอสุจิ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก ต้านการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ขับระดู เป็นต้น
3.บัวบก
′บัวบก′ เป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากบัวบกทำให้การไหลเวียนของเลือดทั้งในหลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอยมี การไหลเวียนดีขึ้น มีคุณสมบัติขยายหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี จึงสามารถลดความดันโลหิตได้
นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อระบบประสาท ทำให้การเรียนรู้ดีขึ้น มีฤทธิ์คลายความเครียด ซึ่งฤทธิ์คลายความเครียดนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วย
4.คาวตองหรือพลูคาว
′คาวตอง หรือพลูคาว′ หมอยาทั่วไป ทั้งอีสาน ภาคเหนือ หรือไทยใหญ่มีความเชื่อว่าการกินคาวตองสดๆ กับน้ำพริก ลู่ ลาบ หรือใช้รากต้มกับปลาไหล รากตำเป็นน้ำพริกกินจะเป็นยารักษาโรคได้ เช่น ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ริดสีดวงทวาร แผลในกระเพาะอาหาร พลูคาว
นับเป็นผักสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยและจดสิทธิบัตรมากตัวหนึ่ง ซึ่งจากการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ต่างพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพลูคาวเช่นเดียวกับการใช้ประโยชน์ของหมอยาพื้น บ้าน
5.มะรุม
′มะรุม′นับเป็นอาหารสุขภาพที่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุดโดยจากประสบการณ์การใช้ของชาวบ้านทั้งในไทยและต่างประเทศ
และการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่า ส่วนของใบและรากของมะรุม มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตได้ รวมทั้งพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดความดันโลหิต เช่น niazinin A, niazinin B, niazimicin และ niaziminin A and B
สำหรับตำรับยาแก้ความดันโลหิตสูง ซึ่งต้องกินอย่างต่อเนื่อง เช่น ...
ตำรับที่ 1 นำรากมาต้มกินเป็นซุป
ตำรับที่ 2 นำยอดมาต้มกิน ตำรับที่ 3 นำยอดอุ๊ปใส่เนื้อวัวกิน ซึ่งต้องเป็นเนื้อวัวเท่านั้น
ตำรับที่ 4 นำรากมะรุมต้มกับรากย่านางกิน
ตำรับที่ 5 ใช้ยอดมะรุมสด โดยจะเป็นยอดอ่อนหรือยอดแก่ก็ได้ นำมาโขลกคั้นเอาน้ำ (ถ้าไม่มีน้ำให้เติมน้ำลงไปพอให้เหลวข้น) ผสมน้ำผึ้งพอหวาน กินวันละ ๒ ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว
ยานี้จะช่วยลดความดัน เมื่อหยุดกินยาความดันโลหิตก็เพิ่มขึ้นมาอีก จึงต้องกินอย่างต่อเนื่อง โดยกินมะรุมทำเป็นอาหารเท่านั้น
ที่มา: http://webdb.dmsc.moph.go.th
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น