WHAT'S NEW?
Loading...

อย่าละเลย..10 อาหารต้องห้าม สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

Advertisements

Advertisements


อย่าละเลย..10 อาหารต้องห้าม สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง นับเป็นโรคร้ายที่คนไทยต้องประสบเป็นอันดับต้นๆ เลยทีเดียว มีการสำรวจพบว่าคนไทยเป็นความดันโลหิตสูงถึง 1 ใน 4 ของผู้ใหญ่ หรือกว่า 10 ล้านคน !! ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงนี้ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ เนื่องจากความดันโลหิตจะเพิ่มอย่างช้าๆ ทำให้ร่างกายโดยเฉพาะหลอดเลือดปรับตัวทันจึงไม่มีอาการ แต่มักเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนเช่น โรคหัวใจวาย อัมพาต และความเสื่อมจากการทำงานของไตนำไปสู่ภาวะไตวาย อันตรายร้ายแรงถึงเสียชีวิต!!

สาเหตุหลักๆ ของความดันโลหิตสูงนี้มาจากการรับประทานอาหารรสเค็มจัด ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป หลายๆ คนชอบกินอาหารรสเค็ม และโดยไม่รู้ตัวว่านำมาซึ่งโรคร้าย ดังนั้น วันนี้ เราจึงมีเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความดันโลหิตสูงมาฝากกันค่ะ

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดระดับความดันโลหิตไว้ดังนี้...

ความดันโลหิต 120/80-139/89 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าความดันโลหิตปกติ

ความดันโลหิต 100/60 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่าความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตต่ำ จะทำให้ไม่มีแรง เวียนหัว หัวหมุน คลื่นไส้และอาเจียนได้ง่าย รวมทั้งเหนื่อยง่าย และถ้าหากมีความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย และอาจมีอาการแน่นหน้าอก นอนไม่หลับ หรือสูญเสียความจำร่วมด้วย หากมีอาการดังกล่าวก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวัดความดันให้แน่ใจ และแนะนำให้วัดความดันทุก 2 ปีสำหรับคนที่ความดันโลหิตปกติ

สาเหตุที่สำคัญของความดันโลหิตสูงคือโซเดียม

โซเดียมเป็นหนึ่งในเกลือแร่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่ การกระจายตัวของน้ำในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ควบคุมสมดุลของกรด-ด่าง ควบคุมการเต้นของหัวใจและชีพจร มีผลต่อความดันโลหิตและการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ร่างกายของเราจะได้รับโซเดียมจากอาหาร เกลือที่ใช้ปรุงรสหรือถนอมอาหาร เช่น น้ำปลา กะปิ นอกจากนี้ โซเดียมแอบแฝงอยู่ในอาหารรูปแบบอื่นแต่ไม่มีรสชาติเค็ม เช่น ผงชูรส ผงฟู เป็นต้น

อันตรายจากโซเดียม

การรับประทานโซเดียมในปริมาณที่มากหรือน้อยเกินไป ล้วนส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งสิ้น มีการสำรวจพบว่าคนไทยส่วนใหญ่รับประทานโซเดียมมากถึง 2 เท่าของปริมาณที่แนะนำ อันตรายจากการได้รับโซเดียมมากเกินไป คือ

1. เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆ หากได้รับมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในร่างกาย ในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไตยังสามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินได้ทัน แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง มักจะไม่สามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินในร่างกายได้ ทำให้เกิดภาวะคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆ เช่น แขน ขา หัวใจ และปอด ทำให้แขน ขา บวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ ในผู้ป่วยโรคหัวใจ น้ำที่คั่งในร่างกายจะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ง่ายขึ้น

2. ทำให้ความดันโลหิตสูง การรับประทานโซเดียมมากเกินไปทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คนอ้วน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยภาวะความดันโลหิตสูงทำให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามมา แนะนำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รับประทานโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสมควบคู่กับยาลดความดันโลหิต เพราะจะสามารถลดความดันโลหิตได้ดีกว่าผู้ที่รับประทานยาลดความดันโลหิตแต่ได้รับโซเดียมเกินกำหนด

3. ส่งผลให้ไตเสื่อม เกิดผลเสียต่อไตจากการที่มีการคั่งของน้ำและความดันโลหิตสูง ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เพื่อเพิ่มการกรองโซเดียมและน้ำส่วนเกินของร่างกาย ผลที่ตามมาคือการเกิดความดันในหน่วยไตสูงขึ้น และเกิดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะมากขึ้น นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารบางอย่างซึ่งมีผลทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น

หลักสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง คือ ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมอยู่เสมอ รักษาเบาหวาน รวมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากหัวใจและหลอดเลือด

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้การควบคุมความดันโลหิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คือ การบริโภคเกลือในปริมาณมากเกินไป มีการเติมเกลือหรือน้ำปลาในการปรุงรสชาติอาหารเป็นประจำ ที่น่ากังวลคือมีการสำรวจพบว่า คนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคเกลือสูงถึง 2 เท่าของปริมาณที่ร่างกายต้องการ ซึ่งผลเสียที่ตามมาจากการบริโภคอาหารเค็ม คือ โซเดียมสูง ซึ่งส่งผลเสียให้มีความดันโลหิตสูง เพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และส่งผลเสียต่อไตโดยตรงนั่นเองค่ะ

อาหารที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยง

1. เกลือ การบริโภคเกลือเพียง 5 กรัมก็เทียบเท่ากับปริมาณโซเดียมที่ต้องได้รับต่อวันแล้ว ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดเอาไว้อยู่ที่ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน

2. อาหารแปรรูปต่างๆ เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก เพราะเป็นอาหารที่ต้องผ่านกรรมวิธีการแปรรูปแต่งรสชาติ ซึ่งกรรมวิธีเหล่านี้มีเกลือเป็นส่วนประกอบเสียเป็นส่วนใหญ่

3. อาหารแช่แข็ง อาหารแช่แข็งต่างๆ จำเป็นจะต้องใส่เกลือมากกว่าอาหารที่ทำร้อนๆ เพื่อให้อาหารอยู่ได้นานขึ้น

4. อาหารหมักดอง ใช้เกลือเป็นส่วนผสมในปริมาณสูง เพราะเกลือนั้นช่วยทำให้อาหารอยู่ได้นานขึ้น

5. น้ำตาล การกินน้ำตาลมากๆ ทำให้กลายเป็นโรคอ้วน อันเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

6. กาแฟ มีคาเฟอีนที่ไม่ดีต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

7. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

8. ขนมปัง มีส่วนผสมของโซเดียมอยู่ในเบคกิ้งโซดา ซึ่งขนมปังจะต้องใช้เบคกิ้งโซดาในการช่วยทำให้ขนมปังฟูขึ้น

9. อาหารเช้าซีเรียล

10. น้ำผลไม้บรรจุกล่อง มีส่วนผสมของโซเดียมสูงเช่นกัน รวมถึงน้ำตาลด้วย

จะเห็นได้ว่าโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคใกล้ตัวซึ่งสามารถส่งผลกระทบให้เกิดโรคอื่นๆ ได้มากมาย ซึ่งการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวแม้จะได้ผล แต่การรับประทานอาหารก็มีส่วนทำให้ความดันลดลงได้เช่นกัน ดังนั้น วิธีการที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันและรักษาตนด้วยการ จำกัดการบริโภคโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสมอยู่เสมอนั่นเองค่ะ

ที่มา...https://kaijeaw.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น