พ่อแม่หลายคนไม่เคยรู้! แพทย์เผยสูตรเด็ดน้ำมะนาวกับน้ำอุ่น ลดอาการไข้ ได้ทันที
มะนาว เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน หาได้ง่ายในครัวเรือน กลิ่นน้ำมันผิวมะนาว เมื่อสูดดมบำบัด ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ผู้ป่วยสบายขึ้น
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 รายงานว่า นางพยาบาลจากโรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่ใช้น้ำอุ่นผสมน้ำมะนาวเช็ดตัวลดไข้เด็กที่มีไข้สูง โดยพบว่าได้ผลดีกว่าใช้เพียงน้ำอุ่นเช็ดตัวเด็ก
นางพยาบาลทดลองใช้น้ำอุ่นผสมน้ำมะนาวพันธุ์แป้นเขียว บีบให้ได้น้ำมันจากผิวมะนาวด้วย แล้วเช็ดตัวลดไข้เด็กเล็กต่ำกว่า 5 ขวบ ที่ไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส จาก 60 คน แล้ววัดไข้ซ้ำ พบว่าไข้ลงไปเหลือ 37 องศาต้น ๆ
ในปี 2556 มีผู้ป่วยเด็กรักษาที่โรงพยาบาลนครพิงค์ 782 คน ในจำนวนนี้ 2 คน มีอาการชักเพราะไข้ขึ้นสูง เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ชอบให้เช็ดตัว
วิธีนี้ ประยุกต์ใช้ได้กับปฐมพยาบาลในครอบครัว เวลาเด็กมีไข้สูงป้องกันอาการชัก ซึ่งมีผลต่อสมอง พัฒนาการ และสติปัญญา
อุณหภูมิเท่าไหร่คือมีไข้?
ปกติอุณหภูมิของร่างกายคนเราจะอยู่ที่ 36.0 – 37.5 องศาเซลเซียสถ้าอุณหภูมิที่วัดได้อยู่ระหว่าง 37.6 – 38.4 องศาเซลเซียส จัดว่ามีไข้ต่ำ
ถ้าอุณหภูมิที่วัดได้ตั้งแต่ 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป จัดว่ามีไข้สูง
วิธีเช็ดตัวลดไข้อย่างถูกวิธี
1. เตรียมของใช้ น้ำ และมะนาวให้พร้อม2. ใช้น้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา ไม่ควรใช้น้ำแข็งเช็ดตัว เพราะจะทำให้หลอดเลือดหดตัว และระบายความร้อนออกได้ยาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการหนาวสั่นและเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อจากการหนาวสั่น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการไข้กลับได้
3. ปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ เพื่อไม่ให้หนาวสั่นขณะเช็ดตัว
4. ถอดเสื้อผ้าลูกออกให้หมด
5. ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำให้ชุ่ม เช็ดบริเวณหน้า ลำตัว แขน ขา พักผ้าไว้บริเวณศรีษะ ซอกคอ ซอกรักแร้ ขาหนีบ เพื่อระบายความร้อน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นที่รวมของเส้นเลือดจะระบายความร้อนได้ดี
6. เช็ดจากปลายมือ ปลายเท้าสู่ลำตัวโดยเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อระบายความร้อน
7. ขณะเช็ดตัวให้ออกแรงเล็กน้อยเหมือนถูตัว เพื่อจะช่วยให้เลือดลมเดินดีขึ้น ทำให้เส้นเลือด และ รูขุมขนขยายตัว
8. ถ้ามีอาการหนาวสั่นให้หยุดเช็ดตัวทันที เพราะถ้าเช็ดแล้วหนาวสั่นจะยิ่งทำให้ไข้สูงขึ้นได้
9. เปลี่ยนผ้าชุบน้ำบ่อยๆ ทุก 2 – 3 นาที
10. ใช้เวลาเช็ดตัวประมาณ 10 – 15 นาที
11. หลังเช็ดตัว ควรซับตัวเด็กให้แห้ง แล้วสวมเสื้อผ้าเบาสบาย ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หนา หรือห่อตัวเพราะจะทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้น
12. วัดไข้ซ้ำในอีก 15 – 30 นาทีต่อมา
13. ถ้าไข้ลดลง แสดงว่าการเช็ดตัวลดไข้ได้ผล
14. ถ้าไข้ไม่ลด ให้เช็ดตัวลดไข้ใหม่อีกครั้ง
15. ถ้าไข้ยังไม่ลดลงอีก ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์
ขอบคุณข่าวจาก Ch7 News และข้อมูลจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
และ theasianparent
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น