WHAT'S NEW?
Loading...

ใครอยากชีวิตดี มีสุข ต้องสวดมนต์แบบนี้...แล้วชีวิตจะดีขึ้น

Advertisements

Advertisements

ใครอยากชีวิตดี มีสุข ต้องสวดมนต์แบบนี้...แล้วชีวิตจะดีขึ้น

สวดมนต์อย่างไรให้ชีวิตดีขึ้นจริง

เคยหรือไม่ที่รู้สึกว่า ชีวิตท้อแท้ สิ้นหวัง พยายามกี่ครั้งก็เหนื่อยกว่าเดิม ไม่มีอะไรดีขึ้น?

เคยหรือไม่ที่สวดมนต์ภาวนาทุกวันเพื่อหวังว่าชีวิตเราจะดีขึ้น โดยที่ไม่รู้ว่าจะดีขึ้นจริงรึเปล่า? ปาฏิหาริย์มีจริงหรือไม่? เราควรค่าเพียงใดที่พระท่านจะให้พร?

ชีวิตจะดีขึ้นหรือแย่ลง บางทีแล้วก็ต้องดูด้วยว่า “เราสวดมนต์ถูกต้องรึเปล่า?”

ในนี้เราจะไม่พูดถึงในแง่ของปาฏิหาริย์ เพราะเป็นสิ่งที่ยากแก่การพิสูจน์ให้เห็นจริง

แต่จะมาชวนคุณคิดและทำ ด้วยเหตุผลในเชิงจิตวิทยาและสุขภาพ

สวดมนต์อย่างไรชีวิตจึงดี มีสุขจริง ?

1. ก่อนสวดให้เลือกเวลาและสถานที่ที่จะมีสิ่งรบกวนน้อยที่สุด เช่น ห้องนอนของตัวเองในเวลาก่อนนอน, ห้องนอนของตัวเองในเวลาตื่นนอน ไม่จำเป็นต้องไปถึงวัดก็ได้  “เพราะการทำดี ทำได้ทันทีโดยไม่ต้องเลือก ไม่ต้องรอ”

2. เคลียร์ความคิดและจิตใจให้ปลอดโปร่งที่สุด อะไรที่ทำให้คิดมาก จิตตก รู้สึกแย่ อาฆาตพยาบาท โกรธเคือง โยนทิ้งออกไปก่อนชั่วคราว “การสวดมนต์เพื่อหวังจะลบความรู้สึกแย่ในใจ ไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้น” เพราะมันจะเหมือนกับเศษตะกอนที่อยู่ในน้ำ ต่อให้เติมน้ำที่กลั่นมาใสสะอาดเท่าไหร่มันก็ยังขุ่นอยู่อย่างนั้น ถ้าไม่พร้อมจะสวดจริง ๆ อย่าเพิ่งสวด

3. ความยาวของคาถาไม่ได้การันตีว่าชีวิตจะดีขึ้นจริง ๆ เอาแค่เซตคาถาที่พอจูนสมาธิให้กับตัวเองได้สัก 3-5 นาทีเป็นอย่างต่ำ เช่น สวดอะระหังสัมมาฯ+คาถาชินบัญชร, สวดอะระหังสัมมาฯ+อิติปิโสฯ+พาหุงฯ+ชินบัญชร สุดแท้แต่ที่จะเลือกมาสวด คาถาไหนก็ได้ความหมายที่ดีทั้งนั้น

4. ต่อให้คาถานั้นมีความหมายถึงลาภยศสรรเสริญอยู่จริง “อย่าโฟกัสให้จิตจ้องลาภ” เพราะนั่นเท่ากับว่าเราหมกมุ่นยึดติดกับเงินทองมากเกินไป ควรโฟกัสที่การใช้เวลาสวดไปเพื่อการจูนสมาธิและจิต ให้ว่างเปล่า บริสุทธิ์ พร้อมจะคิดอะไรใหม่ ๆ ดี ๆ เพิ่มขึ้นมาได้ (คิดดี ทำดี เป็นรากฐานก็การได้รับสิ่งดี)

5. นั่งในท่าที่สบาย ขัดสมาธิก็ได้ พับเพียบก็ได้ แต่ก็ให้เป็นท่าที่สามารถอยู่นิ่งได้นาน ไม่ปวดทรมาน ไม่เหน็บชา จนต้องขยุกขยิกบ่อย ๆ ให้เสียสมาธิ

6. เคล็ดลับการนั่งสวดมนต์ (ไปจนถึงนั่งสมาธิ) นาน ๆ ก็คือ ควรนั่งให้หลังตรง ไม่ค่อมตัว ไม่แอ่นตัว เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่งพร้อมรับลมหายใจที่ไหลเวียนได้สะดวก (ออกซิเจนมีผลต่อระบบร่างกายเรา หากไม่ได้รับในปริมาณที่เพียงพอ เพียงแค่เรานั่งผิดองศา เราจะง่วงซึม ปวดเมื่อย รู้สึกมึน)

7. ผลพลอยได้จากการนั่งหลังตรง ไม่เพียงแต่สมาธิที่ดี แต่ยังได้บุคลิกภาพที่สง่างามด้วย

8. ในขณะที่สวดมนต์จะเปล่งออกเสียง หรือพูดแบบกระซิบก็ได้ “ขอให้ปากได้ขยับตามบทสวดแบบชัดถ้อยชัดคำ” อย่าบ่นงึมงำไม่ได้ศัพท์เหมือนเด็กหัดพูด เพื่อให้รู้ตัวว่ากำลังสวดมนต์อยู่ในขณะนี้ ปัจจุบันนี้ จิตไม่ได้ล่องลอยไปไหน (ในทางความเชื่อ การสวดให้ชัดถ้อยชัดคำ ก็เพื่อให้พระท่านรับรู้ว่าเราต้องการจะสื่อสารอะไร ท่านจะได้ประทานพรได้ถูก แต่ถ้ามองในทางวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยา เสียงที่เปล่งออกมา ปากที่ขยับ มันคือการฝึกจิตให้จดจ่ออยู่กับปัจจุบันที่สุด)

9. สวดมนต์แล้วอย่าลืมนั่งสมาธิเพื่อภาวนา แผ่เมตตาให้กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย และสิ่งที่มองไม่เห็น ใครหรืออะไรก็ตามที่มีผลต่อชีวิตเรา ทั้งในด้านดีและด้านร้าย ทั้งในด้านที่เป็นมิตรและเป็นศัตรู ขอให้พยายามนึกเรื่อย ๆ … กล่าวขอบคุณ, ขอโทษ และให้อภัยพวกเขาในขณะที่หลับตา (ในทางพุทธศาสนา คือ การนึกถึงเรื่องเวรกรรมบาปบุญ สร้างบุญให้กับตนเองและผู้อื่น แต่ในทางจิตวิทยา คือ การชำระจิตให้สะอาดกว่านี้ ไม่ให้รู้สึกว่าติดค้างอะไร แถมยังได้กำลังใจจากการนึกถึงแต่สิ่งดี ๆ อีกด้วย)

10. หลังจากสวดมนต์จบแล้ว พยายามตัดนิสัยไม่ให้ตัวเองผิดศีล 5 ถ้าเป็นเวลานอน (สวดมนต์ก่อนนอน) สวดมนต์-นั่งสมาธิแผ่เมตตาเสร็จแล้วก็รีบนอนเลย อย่าประวิงเวลาแม้กระทั่งเช็คเฟส เช็คไลน์แค่นาทีเดียว เพื่อให้นอนฝันดีที่สุดจากจิตที่เพิ่งชำระสะอาดมาหมาด ๆ

ถ้ายังต้องมีกิจกรรมอื่นหลังจากสวดมนต์-นั่งสมาธิจบแล้ว เช่น จะต้องออกไปทำงาน, ออกไปข้างนอก หรืออะไรก็ตาม ให้ตั้งปณิธานไว้ว่าจะไม่ผิดศีล 5 เลยภายในกี่ชั่วโมงก็ว่ากันไปตามแต่สะดวก อาจพัฒนาจากไม่กี่ชั่วโมงเป็นทั้งวันได้ยิ่งดี (ในทางความเชื่อ ก็เหมือนกับว่าถ้าเราอยากจะได้สิ่งดี อยากให้พระท่านประทานพร เราก็ต้องพิสูจน์ตัวเองให้ท่านเห็นก่อนว่าเราจะทำดีจริง ๆ โดยมีศีล5กำกับ แต่ถ้าในทางจิตวิทยามันก็คือการดัดนิสัยตัวเองให้ได้รับพลังบวกมาก ๆ จากการทำดี คิดดีให้มากนั่นเอง)

เลือกปฏิบัติกันได้แล้วแต่คุณจะสะดวก อาจจะไม่ทุกวัน แต่ขอให้สม่ำเสมอจนเป็นนิสัย … สุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ผลตอบแทนที่ดี เราเริ่มได้จากตัวเรา : )

ที่มา...http://www.share-si.com/2016/03/blog-post_44.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น