WHAT'S NEW?
Loading...

เช็คด่วนเลย 8 สัญญาณเตือนจากร่างกาย ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคไต

Advertisements

Advertisements

เช็คด่วนเลย 8 สัญญาณเตือนจากร่างกาย ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคไต

เมื่อกล่าวถึง“โรคไต”คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดคิดว่าคือ “โรคไตวายเรื้อรัง” แท้จริงแล้วโรคไตมีหลายชนิด บางชนิดก็หายเองได้ บางชนิดรักษาแล้วหายขาดหรือดีขึ้น

ฉะนั้นเมื่อท่านได้รับวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็น “โรคไต” ก็อย่าเพิ่มรีบตกอกตกใจ ควรตรวจสอบแพทย์เสียก่อนว่าเป็นโรคไตชนิดไหน จะทำการรักษาอย่างไร เพราะส่วนใหญ่รักษาให้หายขาดได้

นอกจากนั้นควรทำการตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่อช่วยตรวจค้นหาโรคไตตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้รีบทำการรักษา เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนาน อาจทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคไตที่เกิดจากการทำลายเนื้อไตทั้งสองข้างอย่างต่อเนื่องและถาวรจากโรคไตชนิดต่างๆ



อาการและการตรวจพบบ่งชี้ว่าเป็นโรคไต

อาการที่กล่าวถึงต่อไปนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคไตเสมอไป โดยอาการเหล่านี้ อาจพบได้ในภาวะปกติหรือในโรคอื่นๆ ด้วย ดังนั้นก่อนจะทักว่าตัวเองเป็นโรคไต ควรปรึกษาแพทย์เสียก่อน

1 บวม

สังเกตได้ง่ายโดยพบว่าเวลาตื่นนอนตอนเช้าจะมีหน้าตาบวม เท้าบวมทั้งสองข้าง โดยเฉพาะการกดบุ๋มที่หน้าแข้งทั้งสองข้าง เกิดจากความผิดปกติของไตในการขับเกลือ ทำให้เกิดการคั่งของเกลือในร่างกายซึ่งพบได้ในโรคไตเรื้อรังหลายชนิดที่มีการเสื่อมหน้าที่ของไต หรือโรคไตที่มีการรั่วของโปรตีนออกมาในปัสสาวะในปริมาณมาก เช่น โรคไตกลุ่มอาการเนโฟรติก (Nephritic Syndrome) การตรวจปัสสาวะจะช่วยยื่นยันถึงความผิดปกติของการรั่วของโปรตีนดังกล่าวได้เป็นอย่างดี หากมีอาการบวมมาก อาจทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อยจากการคั่งของน้ำในปอดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต อาการบวมอาจเกิดจากโรคหรือภาวะอื่นที่ไม่ใช่โรคไต เช่น โรคตับ โรคหัวใจ เป็นต้น หรืออาจเกิดจากยาเช่น ยาแก้อักเสบปวดข้อกลุ่มเอ็นเสด (NSAID) ยาลดความดันโลหิตบางกลุ่ม

2 ปัสสาวะเป็นเลือดหรือขุ่นผิดปกติ

สังเกตดูสีของปัสสาวะ จะพบมีลักษณะคล้ายสีน้ำล้างเนื้อ หรือสีย้อมผ้าซิ่น เมื่อพบว่าเกิดปัสสาวะเป็นเลือดให้สังเกตดูด้วยว่าปัสสาวะเป็นเลือดนี้เกิดขึ้นในช่วงแรก ช่วงปลาย หรือตลอดสายของปัสสาวะ มีอาการปวดร่วมด้วยหรือไม่ ในช่วงเวลาใด หรือโดยเฉพาะ อาการปวดตอนปัสสาวะสุด เพราะแพทย์สามารถอาศัยประวัติดังกล่าวในการวินิจฉัยว่าปัสสาวะเป็นเลือดนี้ เกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดของทางเดินปัสสาวะ โรคที่เป็นต้นเหตุมีหลายอย่าง เช่น โรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบบางชนิด โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ โรคไตเป็นถุงน้ำมาแต่กำเนิดหรือเนื้องอกที่ไต เป็นต้น

ในกรณีที่ปัสสาวะมีเม็ดเลือดแดงในจำนวนไม่มาก อาจไม่พบความผิดปกติของสีปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะด้วยกล้องจุลทรรศน์จึงมีประโยชน์ในการตรวจสอบ ว่ามีเม็ดเลือดแดงผิดปกติในปัสสาวะหรือไม่

ส่วนอาการปัสสาวะขุ่นอาจเกิดจาก การมีตะกอนนิ่วในผู้ป่วยโรคนิ่ว หรือมีเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก ในผู้ที่กำลังมีการอักเสบ ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือไตอักเสบเรื้อรังสามารถทราบได้โดยการตรวจปัสสาวะด้วยกล้องจุลทรรศน์

3 ปัสสาวะขัดหรือปัสสาวะลำบาก

อาการปัสสาวะแสบขัดที่เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ท่านที่เป็นเพศชายถ้ามีอาการนี้อาจมีโรคนิ่วระบบไตหรือต่อมลูกหมากโดซ่อนอยู่ก็ได้ โดยอาจมีไข้และปวดเอวร่วมด้วยส่วนอาการถ่านปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่งแรง ปัสสาวะไม่พุ่งหรือสะดุดกลางคัน บ่งบอกถึงว่ามีการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ ที่พบบ่อยได้แก่ ต่อมลูกหมากโตในเพศชาย หรือมดมดลูกหย่อนในเพศหญิง ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ได้แก้ไขอาจเกิดการติดเชื้อบ่อยๆ หรือเกิดไตเสื่อมหน้าที่ตามมาได้

4 ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน

โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลับ แล้วต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะมากกว่า 1 ครั้ง ส่วนใหญ่มักพบในรายที่มีความเครียดกังวล นอนไม่ค่อยหลับ หรือเป็นเบาหวาน เป็นต้น ส่วนน้อยที่มีสาเหตุจากโรคไต ที่ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน เช่น โรคไตเรื่อรัง หรือภาวะที่มีความผิดปกติ ของหลอดไตในการทำหน้าที่ดูดกลับของเกลือแร่และน้ำ

5 ปวดหลัง

โดยทั่วไปเชื่อกันว่าเมื่อมีอาการปวดหลัง แสดงว่าเป็นโรค แท้จริงแล้วส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาของกระดูกสันหลังหรือกล้ามเนื้ออักเสบมากกว่า อย่างไรก็ดีสาเหตุอาจเกิดจากโรคไตได้ เช่น นิ่วในไต การติดเชื้อที่กรวยไต หรือโรคไตเป็นถุงน้ำ มาแต่กำเนิด เป็นต้น อาการปวดหลักจากสาเหตุโรคไต มักจะเกิดบริเวณเอวข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง อาจมีอาการปวดร้าวไปที่หัวเหน่า หรือมีอาการไข้ หนาวสั่นร่วมด้วย ในกรณีที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อทางปัสสาวะ

6 ความดันโลหิตสูง

เมื่อตรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการสืบค้นหาเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุของของความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะสาเหตุจากโรคไต เพราะเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง ที่พบในกลุ่มความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุ (Secondary Hypertension) และสามารถรักษาให้หายขาดได้ในโรคไตบางชนิด ความดันโลหิตสูงไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่กินยาควบคุมอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังได้ในที่สุดดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมาพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

7 ซีดและอ่อนเพลีย

เป็นอาการที่ไม่จำเพาะสำหรับโรคไต เนื่องจากสาเหตุของโรคต่างๆ หลายชนิด อย่างไรก็ดี อาการซีดและอ่อนเพลียอาจเป็นการนำผู้ป่วยหลายรายถูกส่งตัวไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคเลือด เมื่อทำการสืบค้นหาสาเหตุของอาการซีด จึงพบว่ามีโรคไตเรื้อรังอยู่ ความรุนแรงของอากาศซีดหรือโลหิตจางนี้ มีความสัมพันธ์กับระดับความเสื่อมหน้าที่ของไตโดยตรง ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยที่มีการเสื่อมหน้าที่ของไตยิ่งมากเท่าไหร่ ก็จะมีอาการซีดมากขึ้นเท่านั้น

8 คลื่นไส้อาเจียนและเบื่ออาหาร

เป็นอาการที่ไม่จำเพาะสำหรับโรคไตอีกเช่นกัน สามารถพบได้ในโรคต่างๆ เช่น โรคตับ โรคระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น อย่างไรก็ดี อาการคลื่นไส้อาเจียน และเบื่ออาหารนี้ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่เป็นมากแล้วเราเรียกภาวะนี้ว่า กลุ่มอาการยูรีเมีย (Uremia)ดังนั้นหากท่านมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่กล่าวถึงนี้ ก็ควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินให้รู้แน่ๆว่าเป็นจากสาเหตุใด โรคไต เพื่อท่านจะได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองรวมทั้งการรักษาที่ช่วยให้ท่านหายจากโดรคไตหรืออย่างน่อยก็ช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้

สามารถปรึกษาและตรวจรักษาได้ที่ศูนย์โรคไตและไตเทียมโรงพยาบาลมหาชัย โทร.0-3442-4990 ต่อ 1501 เปิดให้บริการจันทร์, อังคาร, พุธ, ศุกร์ เวลา 08.00-17.00น. ; พฤหัสฯ เวลา 14.00-17.00น. และ เสาร์เวลา 08.00-12.00 น.

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.mahachaihospital.com/services/menu.php?pax_title_id=93&pax_id=18

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น