พยายามกินให้ได้บ่อยๆ ขนุน ผลไม้บ้านๆ มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็ง และต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
ตามรายงานโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2013ชาวอเมริกาประมาณ 1.17 ล้านคนได้ลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งลำไส้
ใหญ่เป็นโรคที่รักษายาก แต่มีวิธีธรรมชาติในการรักษาโรคนี้และมันคือผลไม้เขตร้อนที่เรียกกันว่า ขนุน
ขนุนใช้ในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างไร ?
ขนุนมีสารต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพมากดังต่อไปนี้
-ไฟโตนิวเทรียนท์ phytonutrients
-ลิกแนน lignans
-ไอโซฟลาโวน isoflavones
-ซาโปนิน saponins
สารเหล่านี้ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระที่ก่อตัวของเซลล์มะเร็งและเนื้องอก
สิ่งเหล่านี้คือสารต่อต้านสารก่อมะเร็ง
-ไอโซฟลาโวน และลิกแนน
สารเหล่านี้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก การศึกษาวิจัยในปี 2006 ได้ดำเนินการทดสอบกับผู้หญิงจำนวน 500 คน ได้แยกผู้หญิงออกหนึ่งกลุ่มที่ได้
รับสารลิกแนนจากขนุน
และผลที่ออกมามันช่วยลดความเสี่ยงและบรรเทาอาการมะเร็งของพวกเขาได้ เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มที่ไม่ได้สารชนิดนี้ ผลการวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารของสถาบัน
มะเร็งแห่งชาติ
-ไฟโตนิวเทรียนท์
สารชนิดนี้เป็นสารที่พบในขนุนช่วยยับยั่งการเกิดโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น
-ซาโปนิน
มีสารแอนตี้มะเร็งที่พบในขนุนสามารถลดการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สารชนิดนี้ทำหน้าที่หยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ประโยชน์ของขนุน
-สามารถป้องกันเซลล์ดีเอ็นเอ
ขนุนมีสารต้านอนุมูลอิสระในการปกป้องเซลล์ดีเอ็นเอที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
-ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน
ขนุนอุดมไปด้วยวิตามินซีที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและช่วยทำให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อได้อย่างเป็นธรรมชาติ
-ช่วยระบบย่อยอาหาร
ขนุนช่วยบรรเทาปัญหาของระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องผูก เพราะขนุนอุดมไปด้วยไฟเบอร์นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
ใหญ่และทวารหนัก
ข้อมูลทางโภชนาการของขนุน
-ขนุนมีปริมาณคอเรสตอรอลและโซเดียมต่ำ
-ขนุนหนึ่งถ้วยมีปริมาน 155 แคลอรี่ และมีไขมันเพียง 4 แคลอรี่
-ในขนุนหนึ่งถ้วยช่วยเพิ่มไฟเบอร์ให้คุณถึง 11%
-ขนุนประกอบด้วยน้ำตาลเชิงเดี่ยวที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณ
-ขนุนอุดมไปด้วยเซเลเนียม สังกะสี ทองแดง แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และแมงกานีส
-นอกจากนี้ยังมีระดับโฟเลตสูง ไนอาซิน วิตามินบี ไรโบเฟลวิน วิตามินเอและซี
อ้างอิง : timefornaturalhealthcare.com
แปลข้อมูลโดย : http://www.rak-sukapap.com/ เว็บไซต์ใดที่นำข้อมูลไปเผยแพร่ กรุณาช่วยให้ เครดิต และใส่ลิงค์กับมาที่เว็บไซต์ด้วยค่ะ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น