WHAT'S NEW?
Loading...

รวมวิธีแก้ปวดข้อเท้า..ให้หายเร็วขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวดสักเม็ด!!

Advertisements

Advertisements

รวมวิธีแก้ปวดข้อเท้า..ให้หายเร็วขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวดสักเม็ด!!

เท้า เป็นอีกอวัยวะที่สำคัญ ช่วยในการเดิน การทรงตัว เท้าที่มีสุขภาพที่ดีย่อมส่งผลให้เราสามารถเดินได้อย่างสะดวกสบาย การทรงตัวที่ดี แต่เนื่องจากเท้าเป็นสิ่งรับน้ำหนักทั้งหมดของน้ำหนักตัว 

ดังนั้นหากมีปัญหาเกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดอาการปวดข้อเท้าได้ เพราะข้อเท้าเป็นกลไกสำคัญสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างเท้ากับส่วนอื่นๆ ที่อยู่เหนือขึ้นมา ดังนั้นหากว่าเกิดการปวดข้อเท้า เราจึงจำเป็นต้องหาวิธีดูแลรักษา เพื่อลดอาการปวดให้หายไปโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนอื่นๆได้

วันนี้มี 10 วิธีลดปวดข้อเท้า..ให้หายเร็วขึ้น!! มาฝากกันค่ะ




สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อเท้าได้

1. อุบัติเหตุต่างๆ อาจด้วยความประมาทหรือความผิดพลาด ที่ส่งผลให้ข้อเท้าได้รับบาดเจ็บจากกิจกรรม อย่างเช่น กีฬาที่ต้องกระโดด ได้แก่ บาสเกตบอล แบดมินตัน กีฬาที่ต้องวิ่งมาก กีฬาที่ต้องมีการกระทบกระแทก เช่น ฟุตบอล ฮอกกี้ รวมทั้งการเดินการวิ่งแล้วหกล้ม การตกบันได เป็นต้น

2. การสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่นใส่รองเท้าที่ไม่ถูกชนิดของกีฬา หรือการฝึกฝน ทำกิจกรรมที่ผิดหลักการ เช่น การวิ่งขึ้นเขา วิ่งบนถนนที่ขรุขระ จึงทำให้เกิดอาการอักเสบบริเวนเท้าที่ต้องใช้งานหนัก จนเกิดอาการปวดข้อเท้าได้

3. ข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลง มักเกิดกับกีฬาที่ต้องกระโดด เอ็นร้อยหวายอักเสบ มักจะเกิดกับกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อน่องมาก เช่น บาสเกตบอล เพราะการกระโดดสูงๆจะมีโอกาสได้รับบาดเจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวายได้มาก นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เนื่องจากการออกกำลังที่ไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดฝ่าเท้าในตอนเช้า รวมไปถึงข้อเท้าทั้งหมด

4. ปัญหาเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพของกระดูก โดยเฉพาะคนที่ขาดแคลเซียมมาตั้งแต่วัยเด็กและวัยรุ่น เมื่อแก่ตัวจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกได้ง่าย โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุน

5. คนอ้วนหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ ก็มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดอาการปวดข้อเท้า เพราะการที่ข้อเท้าเป็นตัวที่ต้องรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกายโดยเฉพาะในเวลายืน วิ่ง หรือกระโดด

วิธีลดอาการปวดข้อเท้าได้ด้วยตนเอง

1. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะอยู่เสมอ ใครที่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นคนอ้วน และเริ่มมีอาการปวดข้อเท้า สันนิฐานได้เลยว่าเกิดจากการที่น้ำหนักตัวมาก จึงต้องลงน้ำหนักไปที่บริเวณเท้า ข้อเท้าจึงมีอาการปวดขึ้น ดังนั้น จึงควรลดน้ำหนักให้ได้ ไม่เช่นนั้น อาการปวดจะทวีความรุนแรง มีความเรื้อรัง ยากต่อการรักษาให้หายขาด พบได้ว่าบางรายหลังจากลดน้ำหนักได้แล้ว อาการปวดข้อเท้าก็จะหายไปเองโดยไม่ต้องใช้ยา

2. ประคบร้อนหรือเย็น จากข้อมูลของศูนย์กายบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า การใช้ความร้อนและความเย็นนั้นสามารถลดอาการปวดในบริเวณต่างๆ ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยว่าเป็นการปวดแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง

– ประคบเย็น เมื่อได้รับการบาดเจ็บเฉียบพลัน มีอาการบวม

– ประคบร้อน เมื่อมีอาการปวดเรื้อรังมานาน หรือเป็นๆ หายๆ ความร้อนจะช่วย ลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ

ข้อควรรู้ 

– โรคความดันโลหิตสูง หากจำเป็นต้องประคบเย็น ต้องระมัดระวังที่สุด เพราะความเย็นอาจมีผลต่อการหดตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นได้ รวมถึงอาการผิดปกติบางประการด้วย เช่น เวียนศีรษะ หน้ามืด

– โรคแพ้ความเย็น ไม่ควรประคบเย็น เพราะจะทำให้เกิดผื่นแดงอย่างรุนแรง

 – โรคมะเร็งที่ยังมีการดำเนินของโรคอยู่ หลีกเลี่ยงการประคบร้อน

– โรคที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึกของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวานที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการชา หากประคบเย็นหรือร้อนมากเกินไป หรือนานเกินไป อาจเกิดอันตรายได้

3. บริหารข้อเท้า เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อเท้าเรื้อรัง รวมถึงคนที่ต้องการทำให้ข้อเท้าของตัวเองมีความแข็งแรงขึ้น

– ท่าที่ 1 ให้นั่งห้อยขาข้างเตียง กระดกข้อเท้าขึ้น – ลง 10-20 ครั้ง ทำซ้ำ 2-3 เซ็ต

– ท่าที่ 2 ให้บิดเท้าออกด้านนอก วนไปเรื่อยๆ 10-20 ครั้ง แล้ววนกลับ 10-20 ครั้ง ทำ 2-3 เซ็ตต่อวัน

4. ออกกำลังกายในน้ำ  การออกกำลังกายในน้ำ ทำให้ร่างกายทุกส่วนได้เคลื่อนไหว คล้ายคลึงกับการเต้นแอโรบิก ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวเข่า และข้อได้ เพิ่มความยืดหยุ่นให้ข้อต่อบริเวณสะโพก และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกายทุกส่วน ในขณะเดียวกัน ผลการวิจัยจากประเทศออสเตรเลียพบว่าวิธีออกกำลังที่เหมาะกับคนเป็นโรคปวดข้อก็คือ การว่ายน้ำ แต่กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคปวดข้อและอายุมากแล้ว อาจว่ายน้ำไม่ไหว ก็แนะนำให้บริหารกายในน้ำ เช่น แอโรบิกน้ำ (Aqua Fitness) การออกกำลังกายในน้ำยังเหมาะกับคนที่มีน้ำหนักตัวมาก ผู้ที่มีปัญหาเรื่องข้อเข่า ข้อเท้า และหลัง รวมถึงผู้สูงอายุด้วย เพราะน้ำจะช่วยรองรับน้ำหนักตัว ลดแรงกดที่ข้อเท้าและข้อเข่าให้น้อยลง ช่วยพยุงไม่ให้ล้มได้ง่ายปลอดภัยกว่าการออกกำลังกายบนบก

5. นวด การนวดจะช่วยกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนสะดวกขึ้น คลายอาการตึงของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ และยังเป็นการคลายผังพืดที่หดเกร็งให้คลายตัวด้วย ดังนั้น ใครที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย แนะนำให้นวดเพื่อผ่อนคลายอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง

6. เสริมแคลเซียม  การขาดแคลเซียมทำให้เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนต  ามมาได้ ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายควรได้ต่อวัน คนทั่วไปประมาณวันละ 1,000 มิลลิกรัม แต่ผู้หญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือน (อายุ 50-55 ปี) ควรรับประทานแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม โดยอาจเป็นการดื่มนม หรือรับประทานปลาตัวเล็กตัวน้อยทอดกรอบ กุ้งแห้ง กุ้งฝอย กะปิ เต้าหู้เหลือง กะหล่ำดอก หรือรับประทานยาเม็ดแคลเซียม เป็นต้น

7. สัมผัสแสงแดดอ่อนๆ แสงแดดอ่อนๆ ในยามเช้าหรือเย็น จะช่วยให้อาการปวดข้อดีขึ้นได้ จากผลการวิจัย เผยว่าการได้รับวิตามินดีในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน ช่วยป้องกันข้อต่อถูกทำร้ายจากโรคข้อกระดูกอักเสบได้ ซึ่งการออกมาสัมผัสกับแสงแดดยามเช้าช่วงประมาณ 7-8 โมง หรือช่วงเย็น 17.00-18.00 น. ประมาณ 10-15 นาที ทำติดต่อกันประมาณ 3 สัปดาห์ ก็ทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินดีเข้ามาอย่างเพียงพอแล้ว นอกเหนือจากการยืนรับแสงแดดในตอนเช้าแล้ว เรายังสามารถเพิ่มวิตามินดีให้ร่างกายได้ด้วยการเน้นกินอาหารใน     กลุ่มผลิตภัณฑ์นม เช่น ชีส นมวัว เป็นต้น

8. สูดดมน้ำมันหอมระเหย  ผลการวิจัยของประเทศญี่ปุ่นเผยว่า กลิ่นลาเวนเดอร์ช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายลง ทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น อาการปวดต่าง ๆ บรรเทาลง นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลงานวิจัยจากประเทศเกาหลี เผยว่า
ผู้ป่วยโรคปวดข้อจะมีอาการบรรเทาลง หากได้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นฉุน เช่น มาร์จอแรม (Marjoram) โรสแมรี่ และเปปเปอร์มินต์

9. จิบชาคาโมมายล์  ชาคาโมมายล์มีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบและติดเชื้อบริเวณข้อต่อ จึงสามารถบรรเทาโรคปวดข้อได้ เพราะในดอกคาโมมายล์นั้นมีสารเทอร์ฟีนอยด์ (Terpenoids) และไอโซฟลาโวนอยด์ (Isoflavonoids) ที่มีคุณสมบัติบรรเทาปวด ต้านการอักเสบ เราสามารถชงเป็นชาอุ่น ๆ ใช้จิบ หรือจะใช้วิธีแช่เท้าก็ได้ โดนการใช้ถุงชาโมมายด์ 4 ถุง แช่ในน้ำร้อนนานประมาณ 20 นาที ยกถุงชาคั้นน้ำให้แห้ง นำผ้าสะอาดจุ่มลงไปในน้ำชาที่ได้ ใช้ประคบบริเวณที่รู้สึกปวด

10. พบแพทย์หากปวดข้อเท้ามาก เมื่อแก้ไขในหลายวิธีแล้ว แต่อาการปวดข้อเท้ายังไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากอาการบาดเจ็บมีหลายระดับ ได้แก่ 1) การบาดเจ็บภายในเส้นเอ็น แบบไม่มีการฉีกขาดให้เห็น 2) มีการฉีกขาดบางส่วนของเส้นเอ็น และ 3) มีการฉีกขาดแบบสมบูรณ์ ทั้งนี้ แพทย์จะวินิจฉัยและรักษาตามอาการ



ลักษณะอาการปวดข้อที่เตือนว่าควรรีบปรึกษาแพทย์

อาการปวดข้อ อาจเป็นสาเหตุของโรคข้ออักเสบได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจากราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย เ ผยว่า หากพบว่าตัวเองมักมี 7 อาการต่อไปนี้บ่อยครั้ง ควรไปพบแพทย์เพราะคุณอาจเป็นโรคข้ออักเสบได้

    1) มีข้อบวม เป็นๆ หายๆ
    2) มีอาการฝืดขัดเป็นเวลานานในตอนเช้า
    3) มีอาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ ในข้อหนึ่งข้อใด
    4) ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อได้เป็นปกติ
    5) มีอาการแดงหรือร้อนบริเวณข้อ
    6) มีไข้ น้ำหนักลด หรืออ่อนแรง
    7) อาการในข้อ 1-6 เป็นมานานกว่า 2 สัปดาห์

เมื่อมีอาการปวดข้อเท้า สามารถบรรเทาอาการปวดได้ตามข้อแนะนำที่เรามีมาฝาก พร้อมกันนั้นก็คือการดูแลรักษาสุขภาพข้อเท้า ด้วยการสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม เลือกรองเท้าที่มีความกว้างของส้น จะช่วยทำให้ข้อเท้ามั่นคงมากขึ้น หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ใช้กล้ามเนื้อข้อเท้า เพื่อลดความเสี่ยงการบาดเจ็บ รอให้กล้ามเนื้อข้อเท้าหายดีก่อนที่จะกลับไปเล่นกีฬาได้ และหากไปพบแพทย์ก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งคัด เพียงเท่านี้อาการปวดข้อเท้าก็จะหายได้เร็วขึ้นนะคะ

ที่มา...Kaijeaw.com http://kaijeaw.com/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2/

1 ความคิดเห็น: Leave Your Comments

  1. เราทำงานธุรการ วัน ๆ เดินบ่อยมาก
    ลองทำวิธีตามเนื้อหาก็ใช้งานได้ดีในระดับหนึ่งเลย แต่ด้วยความที่อายุมากแล้ว เพื่อนแนะนำให้ทาน 1crock เพราะมีกรดอะมิโน,คอลลาเจน ในสัดส่วนที่เหมาะสม เราทานมาได้ 3 เดือนแล้ว รู้สึกช่วงข้อเท้า เข่า เหมือนกับสมัยสาว ๆ เลย (เว่อร์ไปไหมเรา ^^) แต่อาการก็ดีกว่าแต่ก่อนมาก ลองอ่านคุณสมบัติก่อนหามาทานกันนะ
    http://www.herb-industry.com/pro1

    คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์
    ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระดูกจระเข้ชนิดเม็ด “วันครอค” เหมาะสำหรับผู้ที่
    • เจ็บเข่า / ปวดเข่า
    • เสียงดังในเข่า
    • เจ็บแปลบๆในเข่า
    • ข้อเสื่อม / ข้อเข่าเสื่อม
    • เจ็บข้อมือ
    • นิ้วล็อค
    • มีอาการซึมเศร้า / อ่อนเพลีย / สับสน / หงุดหงิดง่าย
    • นอนหลับยาก หลับไม่สนิท
    • ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอติดเชื้อได้ง่าย
    • แผลเป็นหายช้ากว่าปกติ
    • มีปัญหาระบบย่อยอาหาร / กรดในกระเพาะเยอะ
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • ออกกำลังกายหนัก เช่น ตีกอล์ฟ เทนนิส แบดมินตัน
    • เหนื่อยง่าย
    • สมาธิสั้น
    • เล็บบาง เปราะ และ ฉีกขาดง่าย

    ตอบลบ