สูตรน้ำส้มสายชูผสมกับน้ำผึ้ง ดื่มเร่งขจัดของเสีย ขจัดสารพิษ
น้ำส้มสายชู โครงสร้างทางเคมี CH3COOH กรดน้ำส้ม Acetic acid มีรสเปรี้ยว ช่วยเพิ่มประจุบวกให้กับร่างกาย ทำให้แร่ธาตต่างดูดซึมเข้าสูร่างกายได้โดยตรง และช่วยเชื่อมนำกระแสประสาทในร่างกายช่วยกระคุ้น ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายช่วยปรับความสมดุลความเป็นกรดด่างในร่างกายได้ดี เพิ่มพลังงานให้กับเซลล์ เพิ่มประสิทธิภาพในการรับสารอาหารทำให้เวลล์สามารถดูดซึมสารอาหารวิตามิน เกลือแร่ได้ดี
โดยทั่วไปน้ำส้มสายชูที่จำหน่ายในท้องตลาด จะมีปริมาณกรดน้ำส้มอยู่ทีท 4 – 5 % ซึ่งอาจจะใช้วิธีกลั่นหรือหมัก คุณสมบัติทางแพทย์แผนไทย คัมภีร์ธาตุวิภังค์ กล่าวถึงยา รสเปรี้ยว ซาบไปในเอ็นทั่วสารพางค์กายคัมภีร์วรโยคสาร กล่าวถึง อัมพิระ คือรสเปรี้ยวทำให้ดีลม เสลดอนุโลมตามซึ่งตน และเจริญรสอาหาร บำรุงไฟธาตุ กระทำสารพัด ดิบให้สุกใช้เป็นเกิดคุณไม่ใช้ไม่เป็นเกิดโทษคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึง คือรสเปรี้ยว ซาบลำไส้น้อย
ในเรื่องสรรพคุณเภสัช กล่าวถึงรสเปรี้ยว แก้เสมหะพิการ แก้เสมหะเหนียว แก้ไอ แก้ทอ้งผูก ระบายอุจาระ ฟอกโลหิต แก้กระหายน้ำ แต่รสเปรี้ยวแสลงกับโรค น้ำเหลืองเสีย ท้องเสีย และไข้ต่าง ๆ
การใช้น้ำผึ้งในทางการแพทย์แผนไทย สรรพคุณ ของน้ำผึ้ง ระงับความร้อนในร่างกาย ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ขับชีพจร และใช้เป็นน้ำกระสายยา น้ำผึ่ง ที่ได้จากรวงผึ้งส่วนที่เป็นน้ำหวาน รสหวานร้อนฝาด
คุณสมบัติทางแพทย์แผนไทย
คัมภีร์วรโยคสาร กล่าวถึง มธุระ คือรสหวานทำให้ ชอบกับยาให้เจริญรสธาตุ
คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึง รสหวาน คือซึมซาบลำไส้ใหญ่เรื่องสรรพคุณเภสัช(ยา 9 รส) กล่าวถึงรสหวาน มีฤทธิ์ซึมซาบไปเนื้อ เช่นทำให้เนื้อในร่างกายชุ่มชื้น บำรุงกล้ามเนื้อ บำรุงหัวใจ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง แก้ ไอ แก้หอบบำรุงธาตุ ทำให้อกใจแห้ง แก้สะอึก ทำให้ผอม ทำให้เรอ ระบายท้อง แก้ไข้ตรีโทษในปัจจุบันได้มีการนำน้ำผึ้งมาใช้ในประโยชน์ ต่าง ๆคุณสมบัติของน้ำส้มสายชู และน้ำผึ้งในปัจจุบัน
สรรพคุณน้ำส้มสายชู ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกาย มีผลดีต่อเบาหวาน ก็เพราะน้ำส้มสายชู ทำให้เลือดลมเดินดีเพราะไปละลายลิ่มเลือดที่อุดตันในเส้นเลือดฝ่อย ที่เรียกว่าแคบปิรารีทิวป์ลดการอุดตันจึงทำให้แผลเบาหวานหายง่ายชึ้นและทำ ให้อาการชาปลายมือปลายเท้าดีขึ้นได้ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายดีต่อโรคขาดอ๊อกซิเจน เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคเก๊าท์ โรคกระดูก โรคความดัน โรคภูมิแพ้ หอบหืด ไมเกรน โรคกระเพาะ โรคริดสีดวง โรคไต โรคตับ โรคไทยรอยด์ ถุงลมโป่งพอง เหน็บชา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตาเส้น อัมพฤกษ์ สิว ฝ้า ประจำเดือนไม่ปกติ การตกขาว ผังพืดในมดลูก ถุงน้ำ ซีต เนื้องอก หย่อนสมรรถนะ ต่อมลูกหมากโต ฯลฯ
สรรพคุณน้ำผึ้ง น้ำผึ้งเป็นทั้งอาหารและยาใช้เป็นน้ำกระสายยา โดยจัดเป็น น้ำกระสายยาที่ใช้มากที่สุด ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ใช้ผสมผงยาเพื่อปั้นเป็นลูกกลอน ใช้รักษาบาดแผลได้ดี ไม่ว่าแผลสดและเปื่อย ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ถูกความร้อนจากท่อไอเสียหรือบาดแผลหายยาก ๆ เช่น บาดแผล กดทับจากการนอนเตียงนาน ๆ แผลจากเบาหวาน ท้องผูก เด็กหรือคนชราที่อาการท้องผูกกินเป็นยาบำบัดโรค มีสรรคุณบำรุงกำลัง แก้สะอึก แก้ไข้ตรีโทษ และเป็นยาอายุวัฒนะ
ถ้ารับประทานน้ำผึ้งเป็นประจำอาการท้องผูกจะหายไป (น้ำผึ้งที่ใช้ต้องไม่ค้างปี) ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย หรือโรคกระเพาะ ใช้น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ ? ถ้วยแก้ว ดื่มหลังอาหารเป็นประจำ พิษสุรา(ตับแข็งหรือโรคตับ) ใช้น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ ? ถ้วยแก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นประจำ ผู้ดื่มสุราควรบริโภคน้ำผึ้ง 1-2 ช้อนโต๊ะก่อนนอนจะทำให้หลับง่ายและป้องกันตับแข็ง เพราะน้ำผึ้งจะทำให้ตับทำลายพิษแอลกอฮอล์ได้ดีลดอาการอ่อนเพลีย บำรุงสายตาบำรุงสุขภาพทุกเพศทุกวัย บริโภคน้ำผึ้งเป็นประจำ จะช่วยขจัดความเมื่อยล้า
สิ่งสำคัญคือ น้ำผึ้งที่ใช้ ต้องเป็นน้ำผึ้งที่แท้ สะอาดและความชื้นต่ำและไม่ใช้น้ำผึ้งค้างปี
ข้อควรระวังในการใช้น้ำผึ้งแม้น้ำผึ้งจะมีประโยชน์มากแต่ใช่ว่าจะใช้ได้กับ ทุกคนบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพต่อไปนี้ไม่ควรดื่มน้ำผึ้ง
1. คนที่มีอาการแแพ้เกสรผึ้งหรือน้ำผึ้ง คนที่มีอาการอาเจียนบ่อย ไม่ควรให้ เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบดื่มน้ำผึ้ง เพราะในน้ำผึ้งอาจมีสปอร์ของเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัมประปนเปื้อนอยู่ซึ่งเชื้อนี้จะเจริญเติบโตได้ในทางเดินอาหารของ เด็กเล็ก ทำให้เกิดสารพิษที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ กรณีดังกล่าวนี้แม้จะเกิดขึ้นไม่
บ่อย แต่ระวังป้องกันไว้ก่อนย่อมปลอดภัยกว่า
2. ในบางครั้งแหล่งที่ได้น้ำผึ้งอาจจะได้มาจากน้ำหวานของเกสรดอกไม้ที่เป็นพิษ เช่น น้ำหวานจากดอกไม้ของต้นตาตุ่มทะเล ซึ่งเป็น ไม้ชายเลนที่มีพิษ เมื่อกินเข้าไปจะทำให้ท้องเดิน ดังนั้นก่อนซื้อน้ำผึ้ง ที่หาบเร่มาขายหรือขายอยู่ริมทางควรสอบถามถึงที่มาของผึ้งให้ละเอียดเพื่อ หลีกเลี่ยงพิษภัยที่อาจเกิดขึ้นได้
วิธีทำและวิธีใช้รวมถึงสรรพคุณ
สูตรที่ 1
น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด 250 ซี.ซ๊.ร้อนหรือเย็นก้ได้ (ประมาณ 1 แก้ว ถ้าเปรี้ยวไปก็เติมน้ำเพิ่มได้ตามใจชอบ
สรรพคุณน้ำสมสายชู ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับให้กับร่างกาย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆได้ดี เร่งปฏิกริยาทางเคมีให้เชลล์เนื่อเยื่อทำงานปกติ ส่งเสริมกระแสประสาทในร่างกาย ช่วยกระตุ้มระบบภูมิคุ้มกันและปรับสมดุลความเป็นกรดด่างในร่างกายช่วยเพิ่ม พลังงานให้กับเซลล์ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการรับสารอาหาร
สูตรที่ 2
น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด 250 ซี.ซ๊. ร้อนหรือเย็นก้ได้ (ประมาณ 1 แก้ว ถ้าหวานไปก็เติมน้ำเพิ่มได้ตามใจชอบ
สรรพคุณน้ำผึ้ง ช่วยรักษาบาดแผลได้ดี ไม่ว่าแผลสดและเปื่อย ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ถูกความร้อนจากท่อไอเสียหรือบาดแผลหายยาก ๆ เช่น บาดแผล กดทับจากการนอนเตียงนาน ๆ แผลจากเบาหวาน ท้องผูก เด็กหรือคนชราที่อาการท้องผูก ถ้ารับประทานน้ำผึ้งเป็นประจำอาการท้องผูกจะหายไป (น้ำผึ้งที่ใช้ต้องไม่ค้างปี) ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย หรือโรคกระเพาะ ใช้น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ดื่มหลังอาหารเป็นประจำ
พิษสุรา(ตับแข็งหรือโรคตับ) ใช้น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นประจำ ผู้ดื่มสุราควรบริโภคน้ำผึ้ง 1-2 ช้อนโต๊ะก่อนนอนจะทำให้หลับง่ายและป้องกันตับแข็ง เพราะน้ำผึ้งจะทำให้ตับทำลายพิษแอลกอฮอล์ได้ดี
ลดอาการอ่อนเพลีย บำรุงสายตาบำรุงสุขภาพทุกเพศทุกวัย บริโภคน้ำผึ้งเป็นประจำ จะช่วยขจัดความเมื่อยล้าสิ่งสำคัญคือ น้ำผึ้งที่ใช้ ต้องเป็นน้ำผึ้งที่แท้ สะอาดและความชื้นต่ำและไม่ใช้น้ำผึ้งค้างปี
สูตรที่ 3
น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำสะอาด 250 ซี.ซ๊.ร้อนหรือเย็นก็ได้ (ประมาณ 1 แก้ว ถ้าเปรี้ยวหรือหวานไปก็เติมน้ำเพิ่มได้ตามใจชอบ
สรรพคุณสูตรที่ 3 เท่ากับสูตรที่ 1 + สูตรที่ 2 ทำให้รสกลมกล่อมรับประทานง่ายขึ้น
การทำน้ำส้มสายชูผสมน้ำผึ้ง ดื่มวันละแก้วหรือสองแก้ว
เมื่อรับประทานน้ำส้มสายชู ผสมน้ำผึ้ง ร่างกายจะมีการเร่งขจัดของเสียและการอุดตันเป็นขบวนการขจัดสารพิษอาจค่อย รับประทานที่ละน้อย และจึงค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง: สารนุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย วุฒิ วุฒิธรรมเวช
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทางการเกษตรจังหวัดพิษณุโลก
http://aopdb01.doae.go.th/main.html
น้ำผึ้งองค์ประกอบของน้ำผึ้ง
http://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/36/cndlkw13.htm
ชุมนุมแพทย์แผนไทยและสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 5 หน้า 96:อรรณพ ผลบุณยรักษ์ รวบรวม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://mekongcuisine.wordpress.com/
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น