WHAT'S NEW?
Loading...

คิดก่อนโพสต์-แชร์ 9 สิ่งห้ามโพสต์ ถ้าไม่อยากเป็นเหยื่อโซเชียลมีเดีย

Advertisements

Advertisements
คิดก่อนโพสต์-แชร์ 9 สิ่งห้ามโพสต์ ถ้าไม่อยากเป็นเหยื่อโซเชียลมีเดีย

คิดก่อนโพสต์ คิดก่อนแชร์ กับ “9 สิ่งต้องห้ามโพสต์ ถ้าไม่อยากเป็นเหยื่อโซเชียลมีเดีย” ระวังไว้ดีกว่าพลาดพลั้งโดยไม่รู้ตัว

“โซเชียลมีเดีย” แทบจะกลายเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว เวลาคิดจะทำอะไร ก็จะมีการโพสต์แชร์ความรู้สึก อัพภาพถ่าย เรื่องราวต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แต่รู้หรือเปล่าว่า การโพสต์ทุกสิ่งทุกอย่างบางครั้งอาจจะส่งผลร้ายแรงต่อผู้โพสต์อย่างคาดไม่ถึง วันนี้สปริงนิวส์และ “ทนายวิรัช” จะมาเผย “9 สิ่งที่ห้ามโพสต์ ถ้าไม่อยากเป็นเหยื่อโซเชียลมีเดีย” ให้คุณทราบ เพื่อระมัดระวังตัวเองมากขึ้น

1.บัตรประชาชน บัตรประชาชนจะมีเลข ID หรือ เลข 13 หลักประจำตัวประชาชน นอกจากนี้ ยังมีชื่อ, นามสกุล, วันเกิด และข้อมูลส่วนตัวต่างๆ โดยส่วนนี้สามารถเอาไปทำอะไรได้หลายอย่าง อาทิ แอบนำภาพบัตรประชาชนที่เราโพสต์ไปสมัครบัตรเครดิต หรือ นำไปซื้อโทรศัพท์ ซึ่งเมื่อมีการโทรออกไม่ว่าจะในประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ ก็จะมีใบเสร็จออกมาด้วยชื่อเรา นั่นคือ เราต้องเป็นคนจ่าย แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ก็ตาม

2.ภาพถ่ายเด็ก หรือ บุตรหลาน การโพสต์ภาพบุตรหลานลงโซเชียลมีเดีย หากว่ามีคนจดจำรูปร่างและลักษณะของเด็กได้ อาจจะเกิดเหตุการลักพาตัว โดยหากจะโพสต์ก็พยายามอย่าให้จดจำรูปร่างและลักษณะของเด็กได้

3.ตั๋วเครื่องบิน คนส่วนใหญ่จะชอบโพสต์ภาพตั๋วเครื่องบิน เมื่อมีการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ แต่หลายคนลืมกันว่า บนตั๋วเครื่องบินจะมีบาร์โคด โดยปัจจุบันโทรศัพท์หลายรุ่นสามารถแสกนบาร์โคดได้ ซึ่งหลังจากแสกนก็จะทราบว่า เราใช้บัตรเครดิตใดซื้อ รวมถึงข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ทำให้ผู้ไม่หวังดีอาจเข้าไปยกเลิกตั๋วเครื่องบินของเราได้ เพราะฉะนั้นหากอยากจะโพสต์ ควรหลีกเลี่ยงตรงส่วนบาร์โคด

4.ข้อมูลการเช็กอินสถานที่ต่างๆ เวลาที่เราออกไปเที่ยวข้างนอก ก็มักจะมีการแชร์โลเคชันและเช็กอินสถานที่นั้นๆ เช่น ออกไปเที่ยวข้างนอกก็กดเช็กอิน คนที่ติดตามเราบนโซเชียลมีเดียก็จะทราบทันทีว่า เราไม่ได้อยู่บ้าน ซึ่งจากสิ่งนี้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาการบุกเข้าบ้านเพื่อลักทรัพย์ โดยหากเป็นไปได้ก็พยายามหลีกเลี่ยงการเช็กอินทุกสถานที่ หรือ ทุกจุดที่เดินทางไป นอกจากนี้ สิ่งสำคัญ คือ เมื่ออยู่ที่บ้านก็ไม่ควรกดเช็กอิน เพราะอาจทำให้คนอื่นทราบจุดพิกัดของบ้านเราได้

5.การโพสต์ข้อความด่าทอและข้อมูลขององค์กร ปัจจุบันมีการดำเนินคดีเกี่ยวกับกรณีนี้มากขึ้น เพราะหากเราโพสต์ข้อความด่าทอองค์กรลงบนโซเชียลมีเดีย และองค์กรทราบเรื่อง อาจส่งผลกระทบจนถึงขั้นต้องออกจากงานได้ เนื่องจากการกระทำลักษณะนี้ถือว่าเป็นการทำให้บริษัทเสียหาย และนายจ้างสามารถไล่ออกโดยไม่ต้องจ่ายชดเชยได้ เพราะเป็นความเสียหายร้ายแรง

6.ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป อาทิ รายละเอียดความชอบต่างๆ โดยข้อมูลที่หลุดออกมาบ่อยๆ บนโซเชียลมีเดีย อาจทำให้คนทราบพฤติกรรมของเรา และอาจจะส่งผลเสียในหลายๆ ด้านต่อเราได้

7.การโพสต์ต่อว่าโจมตีผู้อื่น การโพสต์ต่อว่าผู้อื่น ส่งผลให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โดยอาจจะมีการแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ สำหรับกรณีการคุยในไลน์แชทส่วนตัว หากบุคคลที่ 3 มาเห็นทีหลัง ก็สามารถฟ้องดำเนินคดีได้ เนื่องจากการหมิ่นประมาท เป็นการหมิ่นประมาทบุคคลที่ 3 ต้องรับผิดทั้งแพ่งและอาญา

8.การโพสต์อารมณ์ดรามา การแชร์ข้อความดรามาบางอย่าง อาจทำให้คนที่ติดตามบนโซเชียลมีเดียรู้สึกอึดอัด หรือ ไม่สบายใจ นอกจากนี้ บริษัทหลายแห่งก็เลือกการรับคนจากการโพสต์ข้อความลงบนโซเชียลมีเดีย เพื่อดูวุฒิภาวะและพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งต้องมีการระมัดระวังมากขึ้น

9.การโพสต์ภาพวาบหวิวอนาจาร ควรระมัดระวังการโพสต์ภาพลักษณะนี้ เพราะอาจจะเกิดกรณีนำภาพส่วนตัวของเราไปใช้ในการตัดต่อภาพวาบหวิว หรือ แอบอ้าง นอกจากนี้ การโพสต์ภาพเซ็กซี่มากเกินไป ก็อาจจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ



ที่มา...springnews


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น