WHAT'S NEW?
Loading...

การที่เราจะเป็นคนตรงไปตรงมา แม้จะไม่มีใครชอบ แต่เชื่อเถอะว่ามันสบายใจดี

Advertisements

Advertisements

“พูดอย่างจริงใจ” ไม่ใช่ “พูด ข ว า น ผ่ า ซ า ก”

ในยุคที่เต็มไปด้วยการปรุงแต่ง

ไม่ว่าจะเป็นการแต่งเติมด้วยเทคโนโลยี

การแต้มเติมด้วยวัตถุประสงค์ทางการตลาด

ที่อาจมุ่งหวังผลประโยชน์

ในยุคที่ใคร ๆ ก็สามารถเป็นผู้ผลิตข้อมูลข่าวสารได้

และทำได้ง่ายเสียจนบางครั้งเราก็สับสนว่าข้อมูลไหนใช่ไม่ใช่

ข่าวไหนจริงไม่จริง

หลายครั้ง เราจึงต้องการ “คนที่พูดความจริง” กับเรา

ประกอบกับการดำเนินชีวิตในยุคที่ดูเหมือนว่า

เข็มนาฬิกาจะหมุนเร็วเสียเหลือเกิน

เร็วจนบางทีเราก็ไม่มีเวลาให้กับเรื่องบางเรื่อง

ที่คนพูดพยายามชักแม่น้ำทั้งห้า

อ้อมไปอ้อมมาจนกินกาแฟจะหมดแก้วแล้ว

เราก็ยังไม่รู้ว่าเขาต้องการอะไร

หลายครั้ง เราจึงต้องการ “คนที่พูดตรงไปตรงมา” กับเรา

แต่หลายครั้งอีกเช่นกัน

ที่ความรู้สึกของเราก็ถูกทำ ร้ า ย ด้วยการพูดความจริงของคนบางคน

ถูกทำ ร้ า ย ด้วยการพูดจาตรงไปตรงมาในบางครั้ง

ตรงเสียจนเรารู้สึกว่ามันพุ่งตรงเข้ามา

“แ ท ง ใ จ ดำ” ของเราเลยทีเดียว

คุณเคยตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้บ้างไหมล่ะคะ

แบบที่ เวลาเป็นคนฟัง ทั้งๆที่รู้ว่าคนพูดเขาจริงใจกับเรา

และปรารถนาดีกับเรา เขาจึงได้พูดความจริงกับเราอย่างตรงไปตรงมา

แต่คำพูดของเขาก็ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ กังวล

ไปจนถึงรู้สึก สู ญ เ สี ย ความมั่นใจ

หรือเคยไหมคะ

ในทางกลับกัน

คุณเคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่จะต้องพูด

ต้องบอกความจริงอะไรออกไปสักอย่าง

แต่ก็กลัวว่าถ้าพูดออกไปแล้ว คนฟังก็จะไม่สบายใจ แต่เราก็ไม่อยากพูดปด

และถ้าพูดอ้อมค้อม คนฟังก็อาจจะเข้าใจไปอีกทาง

ส่วนถ้าจะตัดสินใจพูดออกไปตรงๆ

ก็กลัวอีกว่า หลังจากเขาได้ฟังแล้ว อาจจะเสียความรู้สึกกับเรา

อาจจะเข้าใจเราผิด จนต่อไปอาจจะมองหน้ากันไม่ติดเลยก็ได้




ความจริงแล้วการพูดความจริงและการพูดตรงๆ ต่างก็เป็นสิ่งที่ดีค่ะ

แต่ถ้าการพูดทั้งสองอย่างนี้จะทำให้อะไรๆแย่ลง

ก็คงเป็นเพราะ “วิธีการพูด” นั่นแหละค่ะ

เพราะ คนที่พูดความจริง, คนที่พูดตรงไปตรงมา

ไม่ควรจะเป็นคนคนเดียวกันที่พูดจาแบบ “ข ว า น ผ่ า ซ า ก” นะคะ

เราสามารถพูดความจริงได้ พูดอย่างตรงไปตรงมาได้

โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการพูด ทำ ร้ า ย จิตใจกัน

เพราะนั่นอาจจะเท่ากับการทำร้ายความรู้สึก

และความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย

คนที่พูดความจริง ก็ต้องรู้จักหาวิธีพูด

ที่จะทำให้ความจริงนั้นเป็นประโยชน์และเสริมสร้างกำลังใจให้คนฟัง

คนที่พูดตรงไปตรงมา คือ คนที่มีสติปัญญาและศิลปะในการจับประเด็น

เห็นจุดสำคัญของเรื่องนั้น ๆ สามารถเลือกสรรถ้อยคำ

ลำดับความคิดในการถ่ายทอดหรือสื่อสารออกไปให้กระชับ

ตรงกับปัญหา สถานการณ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง

คือ ความต้องการของผู้ฟัง

“พูดตรง” จึงไม่ใช่ “พูดทื่อ”

ไม่ใช่การใช้คำพูดง่ายๆ ห้วนๆ ทื่อๆ ในการสื่อสารออกไป

คำพูดทื่อ ๆ นั้น บางครั้งยิ่งทื่อมากเท่าไหร่

ก็ยิ่งแ ห ล ม คม บ า ด ใจ บั่นทอนความรู้สึกคนฟังมากขึ้นเท่านั้น

การพูดความจริงอย่างจริงใจ จึงต้องมาพร้อมๆ

กับการพูดที่ “ถนอมน้ำใจ” ด้วย

การพูดตรงมาตรงไป จึงต้องอาศัยศิลปะ

ในการเลือกใช้คำพูดและวิธีการพูดเพื่อให้ตรงประเด็น

ไม่ใช่การพูดอะไรออกไปก็ได้

ให้สั้นและเข้าใจง่ายที่สุดแต่เพียงอย่างเดียว

ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นถ้าเราจะแสดงความคิดเห็น

ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของเพื่อน

วิธีการที่เราจะสามารถพูดความจริงได้

พูดอย่างตรงไปตรงมาได้ และยังรักษาหรือถนอมน้ำใจคนฟังได้อีก

ก็คือหลักง่าย ๆ ในการพูดที่เรียกว่า “ละจุดที่ทำผิด บอกจุดที่ควรเพิ่ม”

เช่น แทนที่จะพูดว่า “งานแกมันดู..ธรรมดาๆ ไปป่าว

ดูไม่มีความแปลกใหม่อะไรเลย”

เปลี่ยนเป็นการพูดในเชิงว่า “ลองหาวิธีนำเสนอจุดเด่น

หรือจุดต่างของงานให้ออกมาเด่นชัดขึ้นดูไหม”

การพูดแบบแรก อาจจะเป็นทั้งความจริง(ตามความเห็นของเรา)

และเราก็พูดอย่างตรงไปตรงมา

แต่จะเห็นว่าการพูดแบบนี้ ก็จะมีน้ำเสียงของการตำหนิ

เพราะมีการพูดถึงจุดด้อยของงาน

แต่ถ้าเป็นการพูดแบบที่สอง ที่ละการพูดถึงจุดด้อย

เปลี่ยนเป็นบอกหรือถามกลับถึงวิธีพัฒนางานนั้น

ก็จะทำให้ฟังดูดีกว่า เพราะมีน้ำเสียงที่แสดงให้เห็นว่า

เราเห็นว่างานชิ้นนั้นมีคุณภาพดีแล้วในระดับหนึ่ง

ซึ่งน่าจะมีทางทำให้ดียิ่งกว่านี้ได้อีก

คนจริงใจ คนที่พูดความจริง และคนที่พูดตรงประเด็นนั้น

ไม่สมควรเลยที่จะถูกโกรธ ถูก เ ก ลี ย ด จากใคร

เพราะเขาทั้งจริงใจ พูดจริงและพูดตรง

แต่สิ่งที่คนจริงใจ คนพูดความจริง

และคนพูดตรงจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนตนเองด้วย

ก็คือทักษะการถนอมน้ำใจคนฟัง

เพราะการถนอมน้ำใจคนฟัง ก็คือการรักษาความรู้สึกที่ดี

และความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย

การสื่อสารด้วยความจริงใจ

จึงต้องเป็นไปพร้อมๆ กับการเอาใจใส่ความรู้สึกของกันและกันนะคะ

ข้อมูลจาก: ครูกวาง กษริน วงศ์กิตติชวลิต ผู้เชี่ยวชาญด้านการพูดและการสื่อสาร

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น