WHAT'S NEW?
Loading...

สมุนไพรใกล้ตัว..หญ้าพันงู ช่วยรักษาโรคไต เบาหวาน และโรคเก๊า

Advertisements

Advertisements

สมุนไพรใกล้ตัว..หญ้าพันงู ช่วยรักษาโรคไต เบาหวาน และโรคเก๊า

หญ้าพันงู เป็นสมุนไพรที่มีการใช้ในประเทศอินเดียมานานนับพันปี ในการรักษาโรคนิ่ว โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของสตรี ใช้เป็นยาคุมกำเนิด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หอบ หืด ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบาย ท้องมาน แผล ฝี หนอง ข้ออักเสบ เป็นต้น
การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สอดคล้องกับการใช้ของคนโบราณ โดยพบว่า หญ้าพันงูมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ทำให้แท้ง มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน ต้านความดันโลหิตสูง ต้านเชื้อรา ต้านแบคทีเรีย ต้านมาลาเรีย ต้านโรคเรื้อน ลดน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ยับยั้งการมีปริมาณ Oxaiate ในปัสสาวะสูงกว่าปกติ และมีรายการศึกษาในคน พบว่าหญ้าพันงูมีแนวโน้มที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคหอบหืด

ชาวล้านนาโบราณเชื่อว่า เมื่อเอาใบหรือรากหญ้าควยงูมาบดละเอียดแล้วผสมกับน้ำนมวัวสด ใช้ทาสะดือของหญิงที่มีบุตรยาก จะทำให้มีบุตรง่ายขึ้นชาวบ้านส่วนใหญ่จะรู้ดีว่าพืชชนิดไหนบ้างที่เมื่อเผาแล้วนำเถ้ามาละลายน้ำจะได้น้ำด่างที่ดี หญ้าพันงูเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัตินั้น

รู้คุณสมบัติทางยาของหญ้าพันงูขาวแล้วรีบหามาปลูกนะครับ บางท้องที่ขึ้นดาษดื่นไม่มีใครสนใจเยียบย่ำไปมา คุณทิพย์ประสิทธิ์ สุวรรณจามรี บอกว่าที่มาเลเซียก็เช่นเดียวกัน น้อยคนนักจะรู้คุณค่าของสมุนไพรชนิดนี้ แท้จริงแล้วหญ้าพันงูขาว คือสุดยอดยารักษานิ่ว จนได้รับการขนานนามจากวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น ราชาของยาแก้นิ่ว ขับปัสสาวะ

นอกจากนี้ต้นหญ้าพันงูใช้ทำเป็นปุ๋ยได้ดีเนื่องจากมีธาตุโปแตสเซี่ยมค่อนข้างสูง

ข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์

สรรพคุณของหญ้าพันงู

ลำต้นสดนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงธาตุไฟ (ลำต้น,ทั้งต้น)

ช่วยฟอกโลหิต (ทั้งต้น)

ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น (ราก, ทั้งต้น

ช่วยทำให้นอนหลับ (ราก)

ช่วยลดความดันโลหิต (ทั้งต้น)

ทั้งต้นมีรสขม เผ็ดเล็กน้อย เป็นยาเย็นจัด ออกฤทธิ์ต่อปอดและไต ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)

ทั้งต้นนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ตรีโทษ (ทั้งต้น)

ตำรับยาแก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรีย ให้ใช้หญ้าพันงูขาวประมาณ 30-45 กรัม นำมาต้มกับเนื้อสันในของหมูรับประทาน (ทั้งต้น)ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้จับสั่นเช่นกัน (ราก)

ใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดไข้ ตัวร้อน แก้เจ็บคอ ให้ใช้หญ้าพันงูขาวนำมาต้มกับน้ำกินหรือใช้เข้ากับตำรายาอื่น (ทั้งต้น)

ดอกใช้เป็นยาแก้และขับเสมหะ ช่วยแก้เสมหะที่คั่งค้างในทรวงอก แก้เสมหะในท้อง (ดอก)ส่วนอีกตำรับให้ใช้รากพันงูขาว รากขัดน้อย พริก เหง้าขิง นำมาบดให้เป็นผงกินเป็นยาขับเสมหะ (ราก)

ตำรายาไทยจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มเอาน้ำกินแก้โรคในลำคอ (ทั้งต้น)ใบมีสรรพคุณช่วยแก้โรคในลำคอ แก้คออักเสบเป็นเม็ดยอดในคอ โรคในลำคอเป็นเม็ดเป็นตุ่ม (ใบ)

ผลมีสรรพคุณทำให้อาเจียน (ผล)ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าส่วนของใบมีสรรพคุณทำให้อาเจียน (ใบ)

ช่วยแก้สะอึก (ดอก)

ใช้รักษาหูน้ำหนวก หรือหูชั้นกลางอักเสบ ด้วยการใช้รากสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมาใช้หยอดหู (ราก)

ใช้รักษาคางทูม (ทั้งต้น)

ช่วยแก้คอตีบ ด้วยการใช้รากสด รากบ่วงหนี่แช นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำตาลทรายพอสมควร ใช้ชงกับน้ำอุ่นกิน (ราก,ทั้งต้น

ช่วยรักษาต่อมต่อมทอนซิลอักเสบ ด้วยการใช้รากแห้ง รากจ้ำเครือแห้ง และพิมเสน นำมาบดให้เป็นผงละเอียดใช้เป่าคอ (ราก)

ในอินเดียจะใช้รักษาหญ้าพันงูขาวเป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หอบ หืด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)

ช่วยรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ด้วยการใช้รากสด รากบ่วงหนี่แช นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำตาลทรายพอสมควร ใช้ชงกับน้ำอุ่นกิน (ราก)

ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับปอด ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำกิน (ลำต้น)แก้ปอดบวม (ทั้งต้น)

ช่วยแก้อาการท้องร่วง ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำกิน (ลำต้น)

ใช้เป็นยาแก้บิด ด้วยการใช้หญ้าพันงูขาว 50-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำชงกับน้ำผึ้งกิน (ทั้งต้น)ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้บิดเช่นกัน ตำรับยาก็คือ ให้ใช้รากสด รากขี้ครอก ผักกาดน้ำ และแชกัว นำมาต้มน้ำผสมกับน้ำผึ้งกิน (ราก)

ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง เจ็บท้องน้อย (ราก)ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ปวดท้อง (ทั้งต้น)

รากนำมาต้มกับน้ำกินแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นหน้าอก (ราก)

ช่วยในการย่อยอาหาร (ทั้งต้น)

ใช้เป็นยาระบาย ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำกิน (ลำต้น,ทั้งต้น)

ในบางตำราจะใช้หญ้าพันงูขาวนำมาตากแห้งต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้มะเร็งลำไส้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)

ลำต้นสดนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา และแก้นิ่ว (ลำต้น,ทั้งต้น)ดอกมีสรรพคุณช่วยละลายก้อนนิ่ว (ดอก)ส่วนรากนำมาต้มเอาแต่น้ำกินจะเป็นยาแก้นิ่ว ขับปัสสาวะได้เช่นกัน (ราก)

แก้ปัสสาวะเป็นเลือด (ราก)

ช่วยแก้โรคริดสีดวงทวาร (ลำต้น,ทั้งต้น)

ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส (ลำต้น)รักษาหนองใน (ทั้งต้น)

ชาวเขาจะใช้ใบหรือทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำให้หญิงหลังคลอดกิน และยังช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนได้อีกด้วย (ใบ,ทั้งต้น)

ต้นมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือน (ต้น)ช่วยแก้ประจำเดือนไม่มาตามปกติของสตรี (ราก)

ในอินเดียจะใช้หญ้าพันงูเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของสตรี และใช้เป็นยาคุมกำเนิด รวมไปถึงใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)

ช่วยแก้ไตอักเสบ บวมน้ำ (ทั้งต้น) ช่วยแก้ท้องมาน บวมน้ำ (ราก)

รากมีสรรพคุณช่วยแก้โรคไตพิการ (ราก)

ช่วยรักษาโรคไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย (ราก)

ใบนำมาขยี้ใช้ทารักษาแผลสด และช่วยห้ามเลือด (ใบ)

ใบใช้พอกแก้อาการอักเสบ ทาแก้โรคผิวหนัง ถูกตะขาบกัด (ใบ)

ใช้รักษาแผลหนองบวมอักเสบ และฝี ด้วยการใช้ทั้งต้นสดนำมากับเหล้า เอาแต่น้ำมากิน ส่วนกากที่เหลือใช้เป็นยาบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)

รากใช้ฝนกับน้ำทารักษาฝี (ราก) หรือจะใช้ทั้งต้นนำมาตำพอกรักษาฝีก็ได้เช่นกัน (ทั้งต้น)

ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้พิษฝี (ทั้งต้น)

ช่วยรักษาโรคเรื้อน (ทั้งต้น)

ช่วยแก้แมลงสัตว์กัดต่อย (ดอก)

ช่วยแก้อาการฟกช้ำอันเกิดจากการกระทบกระแทกหรือหกล้ม ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มผสมกับเหล้ากิน หรือจะใช้ทั้งต้นสด และผมคน 1 กระจุก นำมาต้มน้ำใช้ชะล้างบ่อย ๆ (ราก,ทั้งต้น)

รากใช้ฝนกับน้ำทาแก้เล็บเป็นห้อเลือด (ราก)

น้ำคั้นจากทั้งต้นนำมาดื่มหรือใช้ตำพอกแก้อาการปวดกระดูกได้ (ทั้งต้น)

ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ไขข้ออักเสบ ปวดเมื่อยจากโรคไขข้ออักเสบ ปวดเอว ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกินหรืออาจต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่นเพื่อเสริมฤทธิ์กันก็ได้ (ทั้งต้น)

รากมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดข้อ โดยใช้รากสดหรือรากแห้ง นำมาต้มกับขาหมูกินกับเหล้าแดงและน้ำอย่างละเท่ากัน (ราก)

ใช้ผสมเข้าตำรับยาแก้ปวดหลัง ด้วยการใช้รากพันงูขาวหรือรากพันงูน้อย รากพันงูแดง และรากเดือยหิน นำมาต้มกับน้ำกิน จะช่วยแก้อาการปวดหลังได้ (ราก)

หมอยาพื้นบ้านที่ปราจีนบุรีจะใช้หญ้าพันงูนำมาต้มเป็นยาบำรุงกำลังร่างกายของหญิงวัยหมดประจำเดือน (ทั้งต้น)

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก:อัคเดช บัณฑิต‎  โดย ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ที่มา: www.thaiherguoup.com และ kaijeaw

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น