WHAT'S NEW?
Loading...

เตือน..ผัก 5 ชนิดที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง ยิ่งกินยิ่งป่วยหนัก รักษายาก

Advertisements

Advertisements
 
เตือน..ผัก 5 ชนิดที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง ยิ่งกินยิ่งป่วยหนัก รักษายาก

กินผักสิดี แต่ผักบางชนิดถ้ากินไม่ถูกที่ถูกเวลา ก็เสี่ยงมากนะคะที่จะทำให้คุณป่วยมากขึ้น เพราะฉะนั้นมาเรียนรู้กันดีกว่า ผักชนิดไหนบ้างที่คุณไม่ควรกินตอนป่วยเป็นอะไร เราจะได้ป้องกันได้ก่อนที่จะสายเกินไปยังไงละค่ะผักที่ไม่เหมาะเลยตอนที่ป่วย มีดังต่อไปนี้

1.กะหล่ำปลีดิบ ไม่ควรกินตอนเป็นไทรอยด์

ข้อจำกัดของการห้ามกิน คือ การกินกะหล่ำปลีดิบ เนื่องจาก กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) จะเป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ โดยในกะหล่ำปลีจะมีสารชื่อ “กอยโตรเจน” ซึ่งอยู่ในกลุ่มของสารที่ขัดขวางการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนไปใช้สร้างฮอร์โมนธัยรอกซินได้น้อยกว่าปกติ หรือทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำยิ่งขึ้น

ถ้าอยากทานต้องทำไง? ก็ควรต้องกำจัดสารตัวนี้ออกไปก่อนโดยการนำไปทำให้สุก เมื่อเรานำผักพวกนี้ไปทำให้สุก ความร้อนจะทำให้สารกอยโตรเจนสลายไปอย่างรวดเร็ว และรับประทานได้อย่างปลอดภัย

2. ผักโขม ไม่เหมาะกับคนที่มีภาวะขาดธาตุเหล็ก และแคลเซียม และคนที่เป็นโรคไต

จริง ๆ แล้วผักโขมไม่ได้ส่งผลอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตแต่อย่างใด เพียงแต่ในผักชนิดนี้มีสารต้านโภชนาการ อย่าง “กรดออกซาลิก (Oxalic Acid)” ซึ่งจะไปต้านการดูดซึมธาตุเหล็ก และแคลเซียม ดังนั้น จึงไม่เหมาะกับคนที่มีภาวะขาดธาตุเหล็ก และแคลเซียม นั่นเอง

แต่ความจริงร่างกายสามารถขับกรดออกซาลิกออกมาทางปัสสาวะได้ แต่ในคนที่มีปัญหาเรื่องไตจะไม่สามารถขับกรดออกซาลิกออกมาได้ดีเท่าไหร่ ทำให้เกิดนิ่วในไต หรือกระเพาะปัสสาวะได้

ถ้าอยากทานต้องทำไง?

คนที่กินแคลเซียมเม็ด ไม่ควรกินคู่กับผักที่มีกรดออกซาลิก หรือถ้ากินผักที่มีกรดออกซาลิกก็ไม่ควรกินร่วมกับอาหารที่มีแคลเซียม เพราะอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วขึ้นได้

3. ถั่วงอก ไม่ควรกินตอนอ่อนแอ

ในถั่วงอกอาจมีเชื้อจุลินทรีย์หรือสารฟอกขาวตกค้างอยู่มาก เนื่องจากโดยธรรมชาติของการเพาะถั่วงอกจะต้องอาศัยความชื้นค่อนข้างมาก ซึ่งสภาวะนี้ก็เหมาะสมที่จุลินทรีย์จะเติบโตได้ง่ายเช่นกัน อย่างพวกเชื้อซัลโมเนลลา และเชื้ออีโคไล หากกินดิบโดยล้างไม่สะอาดก็อาจรับเชื้อเหล่านี้ได้ ยิ่งในคนที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อย่างเด็กเล็ก หรือหญิงตั้งครรภ์ ก็ย่อมเสี่ยงรับเชื้อโรคได้ง่ายกว่ามากกว่าคนปกติ

ส่วนสารฟอกขาวก็อาจมีบางเจ้าที่ใช้ เพื่อทำให้ถั่วงอกดูขาวน่าทานมากขึ้นนั่นเอง

ถ้าอยากทานต้องทำไง? ทางที่ดีควรแช่น้ำด่างทับทิมก่อน เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ หรือถ้าเลี่ยงได้ก็อย่าทานเลยค่ะ

4.ถั่วฝักยาว ไม่ควรกินตอนอ่อนแอ

ในถั่วฟักยาวมักจะมีสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่มาก เนื่องจากหากมีการฉีดสารเคมีป้องกันพวกแมลงศัตรูพืชนั้น ปกติจะต้องทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อให้สารสลายไปเองตามธรรมชาติ แต่เกษตรกรบางรายอาจไม่รู้ และไม่มีการทิ้งระยะการเก็บหลังฉีดพ่นยา ซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับสารตกค้างสูง

ซึ่งหากมีการปนเปื้อนจะเป็นอันตราย เนื่องจากสารที่ใช้คือ “โมโนโครโตฟอส” ทำให้ถั่วฝักยาวดูดซึมสารเคมีตัวนี้เอาไว้ภายใน

ถ้าอยากทานต้องทำไง?

การล้างน้ำภายนอกอย่างเดียวอาจยังไม่พอ วิธีที่ดีกว่านั้นคือ การแช่น้ำทิ้งไว้สัก 5 นาที โดยอาจทำ 2 ครั้ง หรือหักเป็นท่อนๆ ก่อนล้างเพื่อให้สารเคมีออก

5.หน่อไม้ดิบ และผักชีฝรั่ง

ในหน่อไม้ดิบและผักชีฝรั่งจะมีสารไซยาไนด์อยู่ตามธรรมชาติ ทำให้ปกติจะไม่กินแบบดิบๆกัน เพราะร่างกายจะขับสารพิษออกมาได้น้อยมาก หากเผลอกินเข้าไป สารไซยาไนด์จะไปจับเม็ดเลือดแดงทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน หมดสติ และถึงตายได้

ถ้าอยากทานต้องทำไง?

ถ้าอยากทานแบบปลอดภัยต้องนำหน่อไม้ดิบและผักชีฝรั่งไปต้มในน้ำเดือดก่อน ความร้อนจะช่วยขับสารพิษเหล่านี้ออกไปได้

อย่างไรก็ตาม แม้ผักที่กล่าวมาอาจเป็นโทษต่อร่างกาย แต่ก็ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆอยู่เช่นกัน เช่น มีวิตามิน แร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้น หลักสำคัญในการกินที่คุณควรจำ ก็คือ การกินอาหารที่หลากหลาย ไม่กินอะไรซ้ำ ๆ เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยมากกว่าแล้ว

ที่มา - http://www.thaijobsgov.com/jobs=74134

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น