WHAT'S NEW?
Loading...

อย่าละเลย! 10 สัญญาณอันตราย...ที่บอกได้ว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จะมาเยือนคุณ

Advertisements

Advertisements

อย่าละเลย! 10 สัญญาณอันตราย...ที่บอกได้ว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จะมาเยือนคุณ

หากว่าคุณไม่ใส่ใจสุขภาพเท่าที่ควร ในเรื่องอาหารการกิน การพักผ่อนและวินัยการขับถ่าย นอกจากสุขภาพจะย่ำแย่แล้ว ยังเป็นสาเหตุของโรคร้ายที่น่ากลัวอย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

และเช่นเดียวกับโรคมะเร็งประเภทอื่น ๆ พบได้มากในวัยผู้ใหญ่ทั้งเพศหญิงและเพศชาย หากว่าคุณกำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังเข้าข่ายของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อยู่แล้วล่ะก็ ลองมาเช็คกันดูค่ะ จะได้หาทางรักษากันได้ทันท่วงที

1) ไม่สบายท้อง รวมทั้งปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง

2) ท้องอืด ท้องแน่นตลอดเวลา ปวดท้องเป็นพัก ๆ เดี๋ยวปวด เดี๋ยวหาย

3) มีอาการท้องผูก สลับกับท้องเสีย อุจจาระแข็ง และเหลวสลับกัน

4) อุจจาระปนเลือดสด ๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก ลักษณะอุจจาระเรียวยาวกว่าปกติ

5) ปวดท้องอยากอุจจาระ แต่ไม่มีอุจจาระออกมา เหมือนถ่ายไม่หมดอยู่ตลอด 

6) อุจจาระมีมูกเลือดปน

7) คลื่นไส้ อาเจียน

8) น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

9) อ่อนเพลียหรืออ่อนแรง

10) โลหิตจาง


ทางเลือกในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ ทำได้โดยการเข้ารับการรักษาทางการแพทย์

   - การผ่าตัด
   - รังสีรักษา
   - เคมีบำบัด
   - การใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy)
   - การรักษาโดยการยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ (angiogenesis)

การป้องกันตนเองจากมะเร็งลำไส้ใหญ่

- ควบคุมและรักษาน้ำหนักตนเองให้พอดีไม่อ้วนและไม่ผอมเกินไป
- หลีกเลี่ยงการกินเนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ หมู ฯลฯ มากเกิน
- กินอาหารที่ให้ไฟเบอร์มาก ๆ กินผัก ผลไม้ให้เพียงพอ และทานให้ได้ทุกวัน
- เสริมวิตามินรวมที่มีกรดโฟลิค (folic acid) ทานได้จากผักใบเขียว และหากไม่เพียงพอสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อทานวิตามินเสริมได้
- ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน
- กินแคลเซียมให้มากพอทุกวัน ทานได้จากผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเหลือง ปลาเล็กปลาน้อย
- ฝึกการขับถ่ายให้เป็นนิสัย ในตอนเช้าทุกวัน

หากคุณสังเกตได้ว่ามีอาการดังกล่าวข้างต้น มีปัญหากับระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย ให้สันนิษฐานว่าคุณอาจจะมีความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรืออาจจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็ได้ค่ะ หากอาการยังไม่รุนแรงมากถึงขั้นเป็นโรคมะเร็ง เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจทำให้อาการดีขึ้นได้ ควบคู่กับการรักษาพยาบาลจากแพทย์ โอกาสจะหายขาดก็มีได้มากขึ้น

ที่มา...http://www.share-si.com/2016/11/10_66.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น