WHAT'S NEW?
Loading...
รู้ยัง? แบงค์ 1,000 บาท แบบใหม่ ปลอมยากมากๆ เริ่มใช้ 21 ส.ค.นี้!
Advertisements
Advertisements
Advertisements
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะนำธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท แบบใหม่ (แบบที่ 16) ออกใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2558 นี้
โดยธนบัตรชนิดราคานี้ จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช มีการออกแบบให้เรื่องราวในธนบัตรแสดงถึงพระราชกรณียกิจอันสำคัญของพระองค์
นอกจากนี้ยังได้พัฒนารูปแบบให้สวยงาม และมีเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงที่ทันสมัย เพื่อให้ประชาชน ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน รวมถึงผู้บกพร่องทางสายตาสามารถตรวจสอบได้ง่าย
“ธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาทแบบใหม่ หรือ แบบที่ 16 เป็นธนบัตรชนิดราคาสุดท้ายที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นแบบที่ 16 จากก่อนหน้าที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบธนบัตรชนิดราคา 20 บาท 50 บาท 100 บาท และ 500 บาทไปก่อนหน้านี้ และการเปลี่ยนครั้งนี้ยังเพื่อทดแทนธนบัตรเก่าราคา 1,000 บาทแบบที่ 15 ที่ใช้มานานถึง 10 ปี”นายประสาร กล่าว
ทั้งนี้ ธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาทแบบใหม่ (แบบ 16) นั้น จะมีขนาดกว้าง 72 มิลลิเมตร ยาว 162 มิลลิเมตร สีโดยรวมเป็นสีน้ำตาล เช่นเดียวกับธนบัตรรุ่นเดิม (แบบที่ 15) โดยมีลักษณะพิเศษที่ต่อต้านการปลอมแปลงที่สำคัญคือ
1.มีลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และตัวเลขไทย ๑๐๐๐ จะมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นชัดทั้ง 2 ด้าน เมื่อยกขึ้นส่องแสงสว่าง
2.หมึกพิมพ์พิเศษสลับสีพร้อมตัวเลขแฝง เป็นลายประดิษฐ์สีทองจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อพลิกธนบัตร และภายในมีตัวเลข ๑๐๐๐ ซ่อนอยู่
3.มีหมึกพิมพ์พิเศษเหลือบแดง ในตัวเลข 1000 สลับกับลายประดิษฐ์ในแนวตั้ง เป็นสีเหลือบแดง 4.แถบฟรอยด์ 3 มิติ ผนึกไว้ตามแนวตั้งในแถบตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 จะเปลี่ยนเป็นสรสะท้อนแสงวาววับเมื่อพลิกธนบัตรไปมา ภายในตราสัญลักษณ์มีตัวเลข 1000 เมื่อพลิกเอียงจะมีตัวเลข ๑๐๐๐
5.แถบสี่เหลี่ยมเคลื่อนไหวสลับสี ฝังในเนื้อกระดาษ มีบางส่วนของแถบปรากฎให้เห็นเป็นระยะๆ หากพลิกธนบัตรขึ้นลง จะเห็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กม่วงแดงเคลื่อนไหวอยู่ และจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อเปลี่ยนมุมมอง
6.สัญลักษณ์สำหรับผู้บกพร่องทางสายตาจะมีเส้นนูนแนวนอนเรียงลดหลั่นกัน นำสู่สัญลักษณ์อักษรเบรลล์ ที่พิมพ์นูนเป็นเลขดอกไม้ 4 ดอก แทนอักษร T ที่ย่อมาจากคำว่า Thousand
นายประสาร กล่าวว่า ธนบัตรแบบ 1000 บาทใหม่ดังกล่าว สามารถขอแลกได้ที่สถาบันการเงินทุกแห่ง และสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย โดยเหตุที่เลือกวันจ่ายแลกเป็นวันที่ 21 เนื่องจากตรงกับวันที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศเลิกทาส โดยจำนวนการผลิตรอบแรกอยู่ที่ 100 ล้านฉบับ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาหมุนเวียนได้ 3-4 เดือนจึงจะหมด ส่วนธนบัตร 1,000 บาทแบบที่ 15 ยังสามารถใช้ได้ตามปกติ โดยสถาบันการเงินจะค่อยๆทยอยเก็บส่งคืนในส่วนที่ชำรุดและคาดว่าธนบัตรแบบที่ 16 จะสามารถทดแทนแบบที่ 15 ได้ทั้งหมดภายใน 1-2 ปี
อ้างอิง...ธนาคารแห่งประเทศไทย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น